บทที่
1
แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอน
1. ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน
คิดและคาเรย์ กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอนคือ
ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอน 12
คน
ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ
(Disk and Carey 1985:8)
การประกาศรับสมัครในตำแหน่งดังกล่าวนี้อได้จัดทำขึ้นโดยบริษัทคู่สัญญาหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นที่เกาะทรีไมล์และเชอร์โนบิล
(three
mile and Chermobyl): ซึ่งแสดงให้เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์
วิธีการหนึ่งที่พิสูจน์ข้อผูกผันที่มีคุณภาพต่อการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์
คือ การผ่านการรับรองในเรื่องการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการแก้ปัญหาคุณภาพ
การเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย
ในกรณีขอวเตาปฏิกรณ์ปรมาณู
(nuclear
power plant) ที่ควบคุมการเรียนการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งในด้านการป้องกันและความพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุ สถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้งองค์กรเพื่อจัดทำนโยบายของตนเองโดยมีมาตรฐานคำสั่งสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐานประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสถาบันจะเป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปรมาณู
และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรมณ์ในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย (Vandergrift, 1983)
งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
คือ นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อนที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน
วิธีการในลักษณะนี้จะเสร็จแล้วได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ
และใช้การวิจัยและความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากกสาขาวิชาอื่นๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิยา และศิลปะ (Vandergrift,
1983)ดังข้องสันนิษฐานของกาเย่ บริกส์และเวเกอร์ (Gagne,
Briggs, and Wager) ที่มีต่อการออกแบบการเรียนการสอนว่า
เป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้และมีคุณค่าโดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องดังนนี้คือ
1) มีจุดหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล
2) เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาวที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์
3) ควรดำเนิการวิธีเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนามนุษย์
4) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ได้อย่างไร
(Gagne,
Briggs, and Wager, 1992 : 4-5)
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า
ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณืที่หลากหลาย
เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล
อละมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร
2.นิยามการออกแบบการเรียนการสอน
ริตา ริชชี ( Rita Richey,
1986: 9) ได้นิยามการออกแบบการเรียนการสอนว่า
หมายถึง วิทยาศาสตร์การสร้างสรรค์รายละเอียดที่ชี้เฉพาะการพัฒนา
การประเมินผลและการบำรุงรักษาสถานการณ์ หรือเงื่อนไขที่อำนวยความสะดวก
ให้กับการเรียนรู้ในหน่วยของเนื้อหาวิชา ทั้งหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้นิยามว่า
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดหมาย
( Tyler, 1974 : 1)
1. จะออกแบบและพัฒนาโปรแกรมนี้เพื่อใครเป็นการพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนและผุ้เข้ารับการฝึกอบรมณ์
2. ต้องการให้ผู้เรียน
หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมณ์ได้เรียนรู้อะไรและมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง
เป็นการกำหนดจุดหมายของการเรียน
3. ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่างๆได้ดีที่สุดอย่างไร
เป็นการกำหนดวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน
4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
เป็นการกำหนดกระบวนการประเมิลผล
ส่วนชีลล์และกลาสไกว์ ได้นิยามว่า
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นทั้งกระบวนการและสาขาวิชา (process and discipline)
ในฐานะที่เป็นกระบวนการจะเป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนเฉพาะที่ใช้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนการสอนที่ให้ความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอน
ในฐานะที่เป็นสาขาวิชา (discipline of an area of study) จะเป็นสาขาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและทฤษฎีเกี่ยวกับความเฉพาะเจาะจงในเรื่องของการเรียนการสอนและกระบวนการในการพัฒนาความเฉพาะเจาะจง
นั้นๆการออกแบบการเรียนการสอนรวมถึง
การสร้างสรรค์ความเฉพาะเจาะจงสำหรับสถานการณ์การเรียนการสอนและเพื่อการพัฒนา
การประเมิน การบำรุงรักษา การเผยแพร่สถานการณ์การเหล่านั้น
อาจสรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน หมายถึง
กระบวนการแก้ปัญหาการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์สถานการณ์
หรือเงื่อนไขการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้บรรลุจุดหมายโดยอาศัยความรู้หลายๆทฤษฎี
ประโยชน์ของการออกแบบการเรียนการสอน
ระบบการเรียนการสอนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน
ดังนี้
1) ระบบการเรียนการสอนเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่จัดวางองค์ประกอบของการเรียนการสอน
ต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้ครูรู้จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
การดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลผู้เรียน ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเตรียมการสอนทำให้เกิดความพร้อมในการ
ดำเนินงาน
2)
ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ คือสามารถควบคุมการดำเนินงานให้
บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเวลา
ดีกว่าการจัดการเรียนการสอนที่ขาดระบบ เพราะจะทำให้เกิดความสับสน
เพราะไม่ทราบจุดมุ่งหมายชัดเจนและ ไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานได้
3)
ช่วยให้ครูทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
เพราะมีระบบควบคุมกระบวนการดำเนินการทำให้ทราบว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนเกิดจากปัญหาการ
ดำเนินงานในส่วนใด เพื่อหาทางแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4) ช่วยให้ครูได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ
ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง การเรียนการสอนให้มีคุณภาพดีขึ้น
5)
การนำวิธีการเชิงระบบไปใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ทาง การศึกษาต่าง ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ
ที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้อย่าง กว้างขวาง (Smith &
Ragan, 1999, pp. 8-9., Dick, carey, Carey, 2001, p.11)
การลงทุนที่ประสบความสำเร็จ
หมายถึง การที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้ประโยชน์หากเปรียบเทียบกับการทำงานทางธุรกิจแล้ว
ประโยชน์ย่อมหมายถึงกำไร เจ้าของกิจการได้กำไรลูกค้าพอใจในราคา คุณภาพ และบริการ
คนงานและลูกจ้างได้รับค่าแรงงานที่เหมาะสม และมีความรู้สึกที่ดีต่อบริษัท
ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนย่อมได้ประโยชน์จากการเรียนการสอนไม่มากก็น้อย
ดังที่ ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้กล่าว
1.
ผู้บริหารหรือผู้จัดการโปรแกรมการศึกษาและการเรีนการสอนย่อมต้องการความมั่นใจในประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้งบประมาณประหยัดที่สุด
2.
นักออกแบบการสอน
ย่อมต้องการความมั่นใจว่าโปรแกรมที่ออกแบบไว้เป็นโปรแกรมที่น่าพอใจ
ซึ่งตัวบ่อชี้ที่สำคัญในความพอใจก็คือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในเวลาที่เหมาะสม
3.
ครูผู้สอนย่อมต้องการที่จะเห็นผู้เรียนได้รับความรู้
ความสามารถอื่นๆที่จำเป็นรวมทั้งต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
4.
ผู้เรียนต้องการความสำเร็จในการเรียน
ได้รับประสบการณ์การเรียนด้วยความสนุกสนานและพอใจ (ไชยยศ, 2533:14)
ออร์แลนสกี และสตริง (Oransky
and Stering, 1981) ได้สรุปผลจากการวิจัยการสอนรายวิชาเทคนิคต่างๆ
ด้านการทหารที่มีการออกแบบระบบการเรียนการสอนเป็นอย่างดีว่าสามารถลดเวลาการสอนราชวิชาเหล่านั้นลงได้จาก
25.30 สัปดาห์ เหลือเพียง 9.6 สัปดาห์
อย่างไรก็ตามรายวิชาดังกล่าวที่เป็นรายงานผลวิจัยนั้น เป็นรายวิชาด้านการทหาร
ยังไม่มีรายงานผลการวิจัยรายวิชาอื่น (ในต่างประเทศ) ที่พัฒนาขึ้นมาโดยกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแล้วกดเวลาการสอนได้
สำหรับในประเทศไทยอาจจกล่าวได้ว่า ระบบการสอนของโครงการส่งเสริม สมรรถภาพการสอน (Reduce
Intructional Time : RIT) นั้นเป็นการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนที่ผลการวิจัยระบุว่าสามารถลดเวลาการสอนของครู
และเพิ่มประเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี (ไชยยศ, 2533:14)
ที่มา https://sites.google.com/site/bthreiyn1234/prayochn-laea-khx-cakad-khxng-kar-chi-rabb-kar-reiyn-kar-sxn และ พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป
การออกแบบการเรียนการสอนนำความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอนกระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกำหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น
วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก
(intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์
จากลักษณะนี้เองจึงทำให้เกิดแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (generic
instruction design model : ID model ) ขึ้น (
gibbons 1981:5,hannum and hansen,1989)
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไปมีความง่ายในการใช้มาก
แต่ต้องใช้ด้วยความประณีต และปรับปรุงอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตามแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปได้จัดเตรียมการแนะนำขั้นตอนในกระบวนการของการออกแบบไว้อย่างดี
แบบจำลองในลักษณะนี้มีความหมายว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วยขั้นตอนทั่วไปเหล่านี้
คือ
1.การวิเคราะห์ (Analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องเรียน
2.การออกแบบ (Design) ซึ่งเป็นกระบวนการระบุว่าจะเรียนอย่างไร
3.การพัฒนา (Development) เป็นกระบวนการของการจัดการและการผลิตวัสดุอุปกรณ์
4.การนำไปใช้ (Implementation)
เป็นกระบวนการของการตัดสินตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน
5.การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการของการตัดสินตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน
ที่มา พิจิตรา
ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
(Designer's
role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่นำเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค
หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่ส่วนประกอบของทีมการออกแบบ
เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง
ผู้ออกแบบจำเป็นต้องให้คำแนะนำในการออกแบบกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา (content
expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไปผู้ออกแบบก็สามารถจัดทำได้อย่างอิสระมากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
ผู้ออกแบบสามารถที่จะทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาจากภายนอก
และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมดเหมือนกับเป็นคนในสำนักงาน (in-house
employers) ซึ้งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้ารเนื้อหา
บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย
ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels
and Glasgow,1990:7-9)
1.ผู้ชำนาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี
และเป็นผู้บทบาทของการออกแบบด้วย ไม่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านรู้
ความชำนาญทางเนื้อหาวิชา
2.ผู้ออกแบบการเรียนการสอน
ที่ได้รับการร้องขอให้ทำงานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมีความคุ้นเคย
แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจำเป็นที่จะทำงานกับผู้ชำนาญการด้านเนื้อหา
3.ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคยและดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกและทำงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจำนวนมาก
ตารางที่1. เปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
|
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
|
การเรียนการสอนเชิงระบบ
|
|
1. กำหนดเป้าประสงค์ (Setting
goals)
|
-ตำราหลักสตรูดั้งเดิมการอ้างอิงภายใน
|
-การประเมินความต้องการจำเป็น
-การวิเคราะห์งาน
-การอ้างอิงภายนอก
|
|
2. จุดประสงค์
(Objectives)
|
-กล่าวในรูปของผลที่ได้รับรวมๆหรือการปฏิบัติของครู
-เหมือนกันสำหรับนักเรียนทุกคน
|
-จากการประเมินความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์/การประเมินงาน
-เลือกด้วยพิจารณาจากความสามารถของผู้เรียนเมื่อแรกเข้าเรียน
|
|
3. จุดประสงค์ในความรู้เฉพาะของผู้เรียน
(Student’s knowledge of objectives)
|
-ไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องใช้สัญญาณจากการฟังคำบรรยายและการอ่านตำรา
|
-บอกกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษล่วงหน้าก่อนเรียน
|
|
4. ความสามารถก่อนเข้าเรียน (Entering
capability)
|
-ไม่ต้องใส่ใจ
นักเรียนทุกคนมีจุดประสงค์และวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมเหมือนกันหมด
|
-การพิจารณา
-การกำหมดวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมแตกต่างกัน
|
|
5. ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง (Expected
achievement)
|
-ใช้โค้งมาตรฐาน
|
-มีความเป็นแบบอย่างเดียวกันสูง
|
|
6. ความรอบรู้ (Mastery)
|
-นักเรียนส่วนน้อยรับรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
-รูปแบบผิดพลาด
|
-นักเรียนส่วนใหญ่รับรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
|
|
7. ค่าระดับและการเลื่อนระดับ (Grading
and promotion)
|
-อยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่นๆ
|
-อยู่บนพื้นฐานการรอบรู้จุดประสงค์
|
|
8. การสอนเสริม (Remediation)
|
-บ่อยครั้งที่ไม่มีการว่างแผน
-ไม่มีการแปลงเปลี่ยน
|
-วางแผนสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือแสวงหาจุดประสงค์
|
|
-จุดประสงค์หรือวิธีการเรียนการสอน
|
-อื่นๆ เลือกวิธีการเรียนการสอน
|
||
9.การใช้แบบทดสอบ
|
-กำหนดค่าระดับ
|
-เฝ้าระวังติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน
-ตัดสินความรู้
-วินิจฉัยความยากลำบาก
-ปรับปรุงการเรียนการสอน
|
|
10. เวลาศึกษากับความรอบรู้ (Stidy time
vs mastery)
|
-เวลาคงที่:ระดับของความรอบรู้หลากหลาย
แตกต่างกัน
|
-ความรอบรู้คงที่:เวลาหลากหลายแตกต่างกัน
|
|
11. การตีความของความล้มเหลวที่จะไปให้ถึงความรู้
(Interpretation of failure to reach mastery)
|
-นักเรียนผู้สงสาร
|
-มีความต้องการจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการเรียนการสอน
|
|
12. การพัฒนารายวิชา (Course of
development)
|
-เลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อน
|
-ระบุจุดประสงค์ก่อนแล้วจึงจะเลือกวัสดุอุปกรณ์
|
|
13. ลำดับขั้นตอน (Sequence)
|
-อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและสังเขปหัวเรื่อง
|
-อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ต้องรู้ก่อนตามความจำเป็นและหลักการของการเรียนรู้
|
|
14. การปรับปรุงการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์
(Revision of instructional and materials)
|
-อยู่บนพื้นฐานของการคาดเดางาน หรือความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ใหม่
-เกิดขึ้นเป็นพักๆ
|
-อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูล
-เกิดขึ้นเป็นจำ
|
|
15. กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional
Strategies)
|
-พอใจให้ผ่านได้อย่างกว้างๆ
-อยู่บนพื้นฐานของความชอบและความคล้ายคลึง
|
-เลือกที่จะให้ได้รับตามจุดประสงค์
-ใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย
-อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและการวิจัย
|
|
16. การประเมินผล (Evaluation)
|
-บ่อยครั้งที่ไม่เกิดขึ้น : การวางแผนเชิงระบบมีน้อย
-ประเมินแบบอิงกลุ่มข้อมูลได้จากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ
|
-การวางแผนเป็นระบบ : เกิดขึ้นประจำ
-ประเมินความรอบรู้ตามจุดประสงค์
-ประเมินผลอิงเกณฑ์ข้อมูลได้จากผลที่ได้รับ(ผลผลิต)
|
|
ตารางที่ 2. งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
ขั้นตอนและภาระงาน
|
ตัวอย่างภาระงาน
|
ตัวอย่างผลผลิต
|
การวิเคราะห์-กระบวนการของการนิยามว่าต้องเรียนอะไร
|
-ประเมินความต้องการจำเป็น
-ระบุปัญหา
-วิเคราะห์ภาระงาน
|
-แฟ้มผู้เรียน
-การพรรณนาข้อจำกัด
-คำกล่าวของความต้องการจำเป็นและปัญหา
-การวิเคราะห์ภาระงาน
|
การออกแบบ-กระบวนการของการชี้เฉพาะว่าจะเรียนอะไร
|
-เขียนจุดประสงค์
-พัฒนารายการของแบบทดสอบ
-วางแผนการเรียนการสอน
-ระบุแหล่งทรัพยากร
|
-จุดประสงค์ที่วัดได้กลยุทธ์การเรียนการสอน
-ลักษณะเฉพาะของตัวแบบ (prototype specification)
|
การพัฒนา-กระบวนการของหน้าที่และผลิตวัสดุอุปกรณ์
|
-ทำงานกับผู้ผลิต
-พัฒนาคู่มือ แผนภูมิโปรแกรม
|
-สตอรี่บอร์ด (Story board)
-สคริป
-แบบฝึกหัด
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
|
การนำไปใช้-กระบวนการของการก่อตั้งโครงการในบริษัทแห่งโลกความจริง
|
-การฝึกอบรมครู
-การทดลอง
|
-การให้ความเห็นของนักเรียนข้อมูล
|
การปะเมินผล-กระบวนการของการตกลงใจเกี่ยวกับความเห็นผลของการเรียนการสอน
|
-บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา
-ผลการแปลความแบบทดสอบ
-สำรวจผู้สำเร็จการศึกษา
-ทบทวนกิจกรรม
|
-คำรับรอง
-รายงานโครงงาน
-ทบทวนตัวแบบ
|
ที่มา พิจิตรา
ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
งานและผลิตผลของการออกแบบการเรียนการสอน
งานของผู้ปฎิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ความชำนาญ
ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา
ผู้จัดการโครงการอาจจะนำทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสำหรับการอุตสากรรม
(three-day workshop) การออกแบบไม่จำเป็นต้องเป็นทีมเสมอไปในองค์กรเล็กๆอาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว
ในการทำภาระการออกแบบการเรียนการสอน
ตารางที่3.เปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ
แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป
|
บทบาทของผู้วิจัย
|
บทบาทผู้ปฎิบัติ
|
ขั้นที่1.การวิเคราะห์
|
-ศึกษาวิธีการระบุปัญหา
-ศึกษาผลของคุณลักษณะของผู้เรียน
- ศึกษาเนื้อหา
|
-ประยุกต์ใช้วิธีการระบุปัญหา
- กำหนดคุณลักษณะของผู้เรียน
-ใช้การวิจัยในเนื้อหาตามสาขาวิชา
|
ขั้นที่2.การออกแบบ
|
-ศึกษาตัวแปรในการออกแบบข่าวสาร
- พัฒนากลวิธีการเรียนการสอน
|
-ให้ผู้ปฎิบัติเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอน
|
ขั้นที่3.การพัฒนา
|
·
- ศึกษากระบวนการของทีม
|
-ทำงานกับผู้ผลิตในการพัฒนาสคริป
|
ขั้นที่4.การนำไปใช้
|
- ศึกษาชาติวงค์วรรณาของตัวแปรในสิ่งแวดล้อม
|
- ออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อมและตัวแปรในการเรียนการสอน
|
ขั้นที่5.ประเมินผล
|
-การระบุตัวแปรของการนำไปใช้ให้ได้ผล
-ศึกษาข้อถกเถียงที่นำไปสู่การประเมินผล
|
- ประยุกต์ทฤษฎีการประเมินผล
|
ตารางที่4.บทบาทของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน
นิยาม: บทบาทของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอน
คือ สร้างความรอบรู้อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับขั้นตอนสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน
บทบาทกำหนดให้ระบุคำถามซึ่งจำเป็นต้องศึกษา
วางแผนโครงการอาศัยสารสนเทศในการจัดทำโครงการและรายงานผลของโครงการ
ผลิตผลที่สำคัญ: บทบาทนี้ให้ผลิตผลคือ
ทฤษฎีกำหนด ทฤษฎีการเรียนการสอน
สารสนเทศจากตัวแปร วิธีการ บทความ
รายงาน ตำรา หนังสือ โครงร่างงานวิจัย
สมรรถภาพสำคัญ: ข้อสันนิษฐานเชิงคำถาม
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สมมติฐาน การเลือกวิธีการ การออกแบบงานวิจัย
ตลอดจนการสืบสวนสิ่งแวดล้อม
ความเห็น:นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอนจำเป็นต้องให้ความสนใจในบางส่วนของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนมากกว่ากระบวนการทั้งหมด
ผู้วิจัยต้องมีสมรรถภาพที่แข็งแกร่งในการวิจัยเชิงปริมาณ
และให้ความสนใจกับการพิมพ์ เผยแพร่ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
งานออกแบบ
พิสัยของงาน (Job) เป็นไปตามสถานการณ์และระดับที่แตกต่างกันของผู้ชำนาญการบางครั้งผู้ออกแบบการเรียนการสอนทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ชำนาญการในขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ
ในบางงานเรียกผู้ออกแบบว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่มีสมรรถภาพในการดำเนินโครการตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
พิสัยของงานไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับหน้าที่มีเฉพาะเจาะจงพิเศษแต่บางงานต้องการระดับความแตกต่างของผู้นำชาญการ
(expertise)
ผลิตผลของการออกแบบ
ไม่ว่าจะเป็นงานที่ตั้งสมมติฐานไว้
หรืองานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายของผลิตผลก็ตาม
จะมีขอบเขตที่แตกต่างและซับซ้อน
งานการออกแบบการเรียนการสอนก็เช่นกันขอบเขตรวทถึงความแตกต่างของขนาดและเนื้อหาความซับซ้อนรวมถึงความแตกต่างของหลักสูตรหรือสื่อ
ในระดับที่เล็กที่สุดของขอบเขต คือ แผนการสอน (Lesson plans) และหน่วยหรือชุดโมดุล (Modules) ระดับต่อไปรวมถึงรายวิชา (Courses) และหน่วย (Unit) รายวิชาหลักสูตรและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวอย่างของผลิตผลที่มีขอบเขตกว้างใหญ่
ระดับสูงสุดของระดับความซับซ้อน คือ สื่อการเรียนรู้ซึ่งมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ซึ่งกันและกันโดยอาศัยสื่อทางโทรคมนาคม
และคอมพิวเตอร์เข้าช่วย ระดับต่ำสุดของความซับซ้อน คือ กระดาษและดินสอ
และสำหรับโสดทัศนวัสดุเป็นระดับกลาง
ที่มา พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
สมรรถภาพของผู้ออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทางเชาว์ปัญญา
ที่ต้องการทักษะความคิด ในระดับสูง (Nelson, Macliaro and Sherman, 1998 : 29-35) ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้จําเป็นต้อง
เกี่ยวข้องกับทักษะ และความถนัดตลอดจนการฝึกอบรมและการศึกษา วอลลิงตัน (Wallington,
1981 : 28-33) ได้ให้รายการทักษะที่จําเป็นในการปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอน
ซึ่งเป็นทักษะ ระหว่างบุคคล ทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการแก้ปัญหา
และทักษะในการสกัดและดูดซึม สารสนเทศ
และทําให้สิ่งเหล่านั้นอยู่ในกรอบของความมีเหตุมีผล การประยุกต์หลักการทาง
พฤติกรรมศาสตร์ และการค้นหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบในระบบ ในการพัฒนา
สมรรถภาพของการออกแบบการเรียนการสอน ผู้พัฒนาพยายามที่จะปรับปรุงความถนัดพื้นฐานใน
สาขาของตน เช่น การเขียนและการเรียบเรื่องทักษะต่างๆ
จากการทํางานอย่างต่อเนื่องในสาขาที่คนมี สมรรถภาพทางวิชาชีพนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น