วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

บทความที่ 11 การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา


บทที่ 5
การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา

          โฉมหน้าการศึกษาของไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงการเรียนรู้เพื่อรู้เท่านั้น แต่เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จักตนเอง เรียนเพื่อรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ เรียนรู้เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักของการปฏิรูปและเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา
. ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
          . ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทย การปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ดีทั้งซีกซ้ายและซีกขวาได้อย่างสมดุลกัน
          . ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทย
          . ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์
          . ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน การปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครู ผู้สอน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และสังคมไทย ทุกผ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการนำเนินการจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
          . ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย ครูอาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องถือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
. แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
          (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.. 2545) การจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศุนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์ได้ ๒ วิธี คือ
          . การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศุนย์กลาง โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก
          . จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการ คือการมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิด การพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์
          สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 7) ได้สรุปประเด็นสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
          1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกความรู้ผลพลอยได้จากการทำกิจกรรมระหว่างทำกิจกรรมเจ็บพูดอย่างก็จะได้พัฒนาตนเองทางการคิดการปฏิบัติการแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันการวางแผนการจัดการและเทคนิควิธีการต่างๆที่เรียกว่าเรียนรู้วิธีการหาความรู้
            2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการหมายถึงมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิดการพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์คือความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฏิบัติตลอดทั้งเกิดเจตนาคติค่านิยมที่ดี
. การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมายเชิงปรัชญาและเชิงปฏิบัติการ
            1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุดหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นตัวตั้งผู้เรียนมีอิสระภาพได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ทั้งจิตใจร่างกายสติปัญญาอารมณ์สังคมผู้เรียนได้รับการพัฒนาแบบองค์รวมได้รับการฝึกให้มีศักยภาพในการสร้างรูปแบบคิดผู้เรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ถูกต้องแม่นยำด้วยความรู้สึกที่ดีงามอันเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดีเรียนรู้วิธีการเรียนรู้เรียนรู้จากการปฏิบัติของตนเองคิดอย่างมีระบบและมีวิจารณญาณอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
            2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ศึกษาค้นคว้าทดลองและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัดความสนใจด้วยวิธีการกระบวนการและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียนผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ได้มาตรฐานตามที่หลักสูตรกำหนดมีความรู้ชื่นชมยินดีในการปฏิบัติของตนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนสังคมและส่วนรวม
            3. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้จัดหรือครูผู้สอนดำเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคลความสามารถทางด้านปัญญาวิธีการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณธรรมค่านิยมอันพึงประสงค์วางแผนการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบให้ผู้เรียนได้พัฒนาสติปัญญาอารมณ์และทักษะการปฏิบัติส่งเสริมสนับสนุนการนำความรู้ไปใช้ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสถานศึกษาได้พัฒนากระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพส่งเสริมให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสนับสนุนด้านทรัพยากรการลงทุนเพื่อการศึกษาพร้อมทั้งดูแลตรวจสอบกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต. จากข้อสรุปและแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆข้างต้นในขณะนี้ทุกหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักในความสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้จึงได้พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างหลากหลายและเป็นไปในทางทิศเดียวกัน
            4. การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่นเป็นกระบวนการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยมีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้วัฒนธรรมอารมณ์และสังคมร่วมกันทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่นเป็นกระบวนการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยมีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้วัฒนธรรมอารมณ์และสังคมร่วมกันทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
            5. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองเป็นการรับรู้ลีลาการเรียนรู้และความถนัดของตนเองเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิเคราะห์ประเมิน. ดีจุดด้อยและปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของตนเองเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้ เหมาะสม
วิธีการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษา

          
            วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) เรียกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้โดยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความสมดุลย์ทั้งด้านปัญญาความคิดด้านอารมณ์หรือความสามารถทางปัญญาและความคิดได้แก่ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณส่วนความสามารถทางอารมณ์
 วิธีการสอนแบบโครงงาน (Projiect Design) ความหมาย คือ  เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถ ความถนัด  และความสนใจของตนเองในด้านต่าง ๆ  มาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (ChildCenter)  และการเรียนรู้ตามสภาพจริง  โดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับโครงงานที่เลือกศึกษา วิเคราะห์ วางแผนการทำงาน ลงมือทำงาน และปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์  ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ  สอดแทรกคุณธรรม  ทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกปฏิบัติจริง  เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วม มีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษาตลอดเวลา  เน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ประโยชน์ของการจัดทำโครงงาน
1.       ทำงานตามความถนัด ความสนใจของตนเอง
2.       ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม
3.       สามารถวางแผนการทำงานเป็นระบบ
4.       พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5.       ศึกษา ค้นคว้า  และแก้ปัญหาจากการทำงาน
6.       เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้  ความสามารถ  และประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง ในกรณีที่ต้องนำแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโครงงาน
                โครงงาน 
 หมายถึง  การกำหนดรูปแบบในการทำงานอย่างเป็นระเบียบ  มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน  เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงาน / ผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตรและนำไปใช้ประโยชน์กับชีวิตจริประเภทของโครงงาน  แบ่งงออกเป็น  4  ประเภท คือ
            1.  ประเภทการศึกษาทดลอง  เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหรือพิสูจน์ความจริงตามหลัก
วิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือค้นหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้ เช่น  แสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช,    อาหารพื้นบ้านกับการเจริญเติบโตของไก่
            2.  ประเภทสำรวจข้อมูล    เป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้น ๆ มาจำแนกเป็นหมวดหมู่ และนำเสนอในรูป
แบบต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนหรือพัฒนางาน หรือปรับปรุงงาน  เช่น  การสำรวจการขาดสารไอโอดีนในชุมชน,  การสำรวจการเรียนต่อของเยาวชนอำเภอสำโรงทาบ  ในปี 2542
            3. ประเภทสิ่งประดิษฐ์   เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่ และศึกษาคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประโยชน์คุณค่าของชิ้นงานนั้น ๆ   เช่น  เครื่องฟักไข่,  ระบบน้ำหยดเพื่องานเกษตรโดยใช้กระป๋องน้ำมันเครื่อง
            4.  ประเภทพัฒนาผลงาน  เป็นการค้นคว้าหรือพัฒนาชิ้นงานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น  หรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น  เช่น การประดิษฐ์อุปกรณ์นับจำนวนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์การประดิษฐ์เครื่องโรยขนมจีน
            บทบาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน   (Project Design)
1.       โครงงาน
2.       ศึกษาข้อมูล
3.       วิเคราะห์ข้อมูล
4.       ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5.       เขียนโครงงานวางแผนการทำงาน
6.       ปฏิบัติตามโครงงาน
7.       ประเมินผลโครงงาน

รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบโฟร์แมทซิสเต็ม (4 MAT’S Learning)

แนวคิดทฤษฎีที่ใช้
            แมคคาร์ธี (Mc Carthy) ได้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT นี้ โดยได้รับอิทธิพลแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ของคอล์ม (Kolb) ที่เสนอแนวความคิดเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ว่า การเรียนรู้เกิดจากความสัมพันธ์ 2 มิติ คือการรับรู้ (perception) และกระบวนการจัดการข้อมูล (processing) การรับรู้ของบุคคลอาจเป็นประสบการณ์ตรง อาจเป็นความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม ส่วนกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลคือการลงมือปฏิบัติ ในขณะที่บางคนเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต และนำข้อมูลนั้นมาคิดอย่างไตร่ตรอง แมคคาร์ธีแบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 แบบ คือ 1) ผู้เรียนที่ถนัดการเรียนรู้โดยจินตนาการ(Imaginative Learners) 2) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม นำกระบวนการสังเกตอย่างไตร่ตรอง หรือเรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) 3)ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้มโนทัศน์แล้วผ่านกระบวนการลงมือทำหรือที่เรียกว่าผู้เรียนที่ถนัดการใช้สามัญสำนึก (Commonsense Learners) และ 4) ผู้เรียนที่ถนัดการรับรู้จากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและนำสู่
ลักษณะการพัฒนารูปแบบ
            แมคคาร์ธี และคณะ (ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และไพเราะ พุ่มมั่น, 2542) ได้นำแนวคิดของคอล์ม มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ทำให้เกิดเป็นแนวคิดทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามหลัก 4 คำถาม กับผู้เรียน 4 แบบ คือ
ผู้เรียนแบบที่ 1 (Imaginative Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการรับรู้จากประสบการณ์รูปธรรม ผ่านกระบวนการจัดข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง เขาจะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของตนเองได้อย่างดี การเรียนแบบร่วมมือ การอภิปรายและการทำงานกลุ่มจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนกลุ่มนี้คือ “ทำไม” (Why ?)
ผู้เรียนแบบที่ 2 (Analytic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ที่เป็นทฤษฎี รูปแบบ และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ การอ่าน การค้นคว้าข้อมูลจากตำราหรือเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งการเรียนรู้แบบบรรยาย จะส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเหล่านี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “อะไร” (What ?)
ผู้เรียนแบบที่ 3 (Commonsense Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความสามารถ/มีความถนัดในการรับรู้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรมแล้วนำสู่การลงมือปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้ความรู้ ความก้าวหน้า และการทดลองปฏิบัติ กิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติและกิจกรรมการแก้ปัญหาจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในกลุ่มนี้ คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “อย่างไร” (How ?)
ผู้เรียนแบบที่ 4 (Dynamic Learners) คือ ผู้เรียนที่มีความถนัดในการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมแล้วนำสู่การลงปฏิบัติ เขาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่เป็นการสำรวจ ค้นคว้า การค้นพบด้วยตนเอง แล้วเชื่อมโยงความรู้เหล่านั้นไปสู่การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง คำถามนำทางสำหรับผู้เรียนในกลุ่มนี้คือ “ถ้า” (If ?)
จากลักษณะของผู้เรียนทั้ง 4 แบบดังกล่าวข้างต้น Morris และ Mc Cathy ได้นำมาเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโฟร์แม็ทซิสเต็ม โดยจัดขั้นตอนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเต็มที่เป็นการพัฒนาพหุปัญหาทั้ง 8 ด้าน
ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
การเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้
1.การบูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนหนึ่งของตนเองเป็นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรมไปสู่การสังเกต คิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง ผู้สอนกระตุ้นสร้างแรงจูงใจโดยสร้างคำถาม สร้างความเร้าใจ อภิปราย
2.การสร้างความคิดรวบยอดผู้สอนเตรียมข้อมูลให้ข้อมูลให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์ข้อมูล หลักการมาคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติอย่างเฉพาะตัว ผู้สอนคือโค้ช อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน เป็นการตอบสนองพัฒนาการด้านสมองของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกัน 4 แบบ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนทั้ง 4 แบบ มีความสุข พึงพอใจในการเรียนและมีโอกาสประสบผลสำเร็จในการเรียนตามวิธีหรือแบบการเรียนของตนเอง ซึ่งอธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ 4 MAT ของแมคคาร์ธี หรือไม่

การจัดกระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอนของวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 การบูรณาการประสบการณ์ให้เป็นส่วนของตนเอง
  เป็นช่วงที่ผู้เรียนใช้ประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรมไปสู่การสังเกตคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง บทบาทของครูเป็นผู้กระตุ้นสร้างแรงจูงใจวิธีการ คือ การสร้างคำถาม สร้างความเร้าใจ การอภิปราย การให้ผู้เรียนทำกิจกรรม การออกไปพบของจริง ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างประสบการณ์
             เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเชื่อมโยงประสบการณ์ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าสิ่งที่จะเรียนนั้นมีความหมายโดยตรงกับตัวเขาเอง โดยการให้ผู้เรียนได้สัมผัส ได้เกิดความรู้สึก ได้ซักถามหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่กำหนดจะเรียน ผู้สอนอาจใช้กิจกรรม เกม การออกไปสัมผัสกับของจริง การตั้งคำถามให้คิด หรือให้จินตนาการ เป็นขั้นที่เน้นการใช้สมองซีกขวา
ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการสร้างมโนภาพ ตลอดจนทักษะในการร่วมกิจกรรมกลุ่ม
ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์
           กระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจและอยากรู้ เด็กจะใช้สมองซีกซ้ายวิเคราะห์ต่อจากขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่เด็กต้องหาเหตุผลเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับในขั้นแรก เด็กจะช่วยกันอภิปราย และอธิบายให้เหตุผลตามความคิดเห็นของผู้เรียนแต่ละคน
          ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะในการวินิจฉัย วิเคราะห์อภิปรายในขั้นนี้ ผู้สอนอาจใช้เทคนิคการอภิปราย เทคนิคการเขียนผังความคิด (Mind Mapping) และวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขารู้ ผู้เรียนต่างก็มีความสุขสนุกมากที่ได้มีโอกาสคิดและผู้สอนก็จะพบว่าสิ่งที่ผู้เรียนระดมความคิดเป็นเรื่องดีและเด็กสามารถคิดได้เอง
ส่วนที่ 2 การสร้างความคิดรวบยอด
ในการเรียนรู้ในขั้นตอนการเชื่อมโยงประสบการณ์ ข้อมูล หลักการ มาคิดวิเคราะห์อย่างไตร่ตรอง เพื่อสร้างความคิดรวบยอด บทบาทของครู ผู้เตรียมข้อมูล ให้ข้อมูล สาธิตวิธีการ ให้ผู้เรียนค้นคว้า หาข้อสรุป ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 3 ขั้นปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด
            ขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และไตร่ตรองความรู้ที่ได้จากขั้นแรก เชื่อมโยงกับทฤษฎีให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นจนสามารถที่จะเรียนรู้ต่อไปได้เป็นขั้นตอนที่ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กทำแล้วสร้างความคิดรวบยอดเป็นของตนเองได้ เป็นขั้นที่ต้องใช้สมองซีกขวา
            ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้คือ ทักษะการสร้างรูปแบบการจัดกระบวนการวิเคราะห์ การจัดลำดับความสัมพันธ์ การจัดประสบการณ์เปรียบเทียบ
ขั้นที่ 4 พัฒนาความคิดด้วยข้อมูล
         เป็นขั้นที่ให้ข้อมูลรายละเอียดเพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจ จนสร้างความคิดรวบยอดเรื่องที่เรียนได้ เน้นการใช้สมองซีกซ้าย ผู้สอนควรหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลความรู้ด้วยการบรรยาย ควรใช้วิธีอื่นแทน เช่น การให้ผู้เรียนค้นคว้า ทดลอง สาธิตให้ผู้เรียนรู้จักวิทยากรท้องถิ่น
        ทักษะสำคัญในช่วงนี้คือ ความสัมพันธ์ การจัดลำดับ การทดลอง การสรุปความ
ส่วนที่ 3 การปฏิบัติการเรียนรู้ตามลักษณะเฉพาะตัว
          กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเคลื่อนไหวจากขั้นสร้างความคิดรวบยอดมาสู่การลงมือกระทำ หรือลงมือทดลองตามความคิดของผู้เรียน บทบาทของครู คือ โค้ช (Coach)หรือผู้ให้คำแนะนำ ผู้อำนวยการความสะดวก ผุ้ให้ความช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง วิธีการ ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
ขั้นที่ 5 ทำตามแนวคิดที่กำหนด
ผู้เรียนจะทำตามใบงานหรือคู่มือหรือแบบฝึกหัดหรือทำตามขั้นตอนที่กำหนด เน้นการใช้สมองซีกซ้าย
ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือ ทักษะการถาม การสำรวจ การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์การทดลอง การลองผิดลองถูก การทำนาย การบันทึก
ขั้นที่ 6 สร้างชิ้นงานตามความถนัด/ความสนใจ
          เป็นขั้นบูรณาการการสร้างสรรค์อย่างแท้จริง เพราะเป็นขั้นที่ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความสนใจ ความถนัด ความเข้าใจเนื้อหาวิชา ความซาบซึ้งและจินตนาการของตนเองออกมาเป็นรูปธรรม ในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่ตนเองเลือก เช่น เป็นสิ่งประดิษฐ์ สมุดรวมภาพ ภาพวาด นิทาน บทกวี หรือบทละคร หรือหนังสือ เน้นการใช้สมองซีกขวา
          กิจกรรมขั้นนี้เป็นผลมาจากการลงมือปฏิบัติจากขั้นที่ 5 ต้องมีลักษณะที่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดไม่ใช่เกิดความจำแต่เพียงอย่างเดียวและในส่วนนี้คือที่สามารถปรากฏเป็นแฟ้มผลงานของผู้เรียน (Portfolio) ได้ ถ้าผู้สอนวางแผนการทำงานล่วงหน้าไว้อย่างดี เด็กสามารถสร้างผลงานได้โดย ผู้สอนไม่ต้องคอยพะวงเรื่องการทำแฟ้มผลงานผู้เรียน
ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือ ทักษะการจัดระบบ การจัดลำดับก่อนหลัง การแก้ปัญหา การลงมือทำงาน การสรุป จดบันทึก
 ส่วนที่ 4 การบูรณาการการประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ของตน
         กระบวนการเรียนรู้ในส่วนที่ 4 เกิดจากกิจกรรมของการลงมือกระทำด้วยตนเองจนสำเร็จและไปสู่การรับรู้และ มีความรู้สึกที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น บทบาทของครู เป็นผู้ประเมิน/ผู้ซ่อมเสริมรวมทั้งเป็นผู้เรียนร่วมกัน วิธีการ การค้นหาตัวเอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแนะนำผู้อื่น ในส่วนนี้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ขั้น
ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ผลและประยุกต์ใช้
         เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้ชื่นชมกับผลงานของตนเองหรือผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปสู่กิจกรรมอื่น หรือผู้เรียนนำผลงานของตนเองเสนอในกลุ่มย่อยๆ ให้เพื่อนๆ ติชมและปรับปรุงแก้ไข เป็นขั้นที่เน้นการใช้สมองซีกซ้าย
        ทักษะที่สำคัญในช่วงนี้ คือ ทักษะการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ขั้นที่ 8 แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกับผู้อื่น
         ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการค้นคว้าหรือลงมือกระทำกับคนอื่น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนจะช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้กับเรื่องอื่น ๆ ที่อาจพบในสถานการณ์ใหม่ ได้แก่ จัดแสดงนิทรรศการ แสดงผลงานในวันสำคัญ ขั้นนี้เน้นการใช้สมองซีกขวา
         ทักษะที่ใช้ในช่วงนี้ คือการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ซึ่งกันและกัน การมองอนาคตตลอดจนการชื่นชมตนเอง



ลักษณะเด่นของรูปแบบ
  ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และนำความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจำนวนมาก
 ดังนั้น ลักษณะเด่นของรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบ 4 MAT จะช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ตามกรอบความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่
1. การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน
   1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์ (สมองซีกขวา)
   1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับ (สมองซีกซ้าย)
2. การเสนอเนื้อหา สาระข้อมูลแก่ผู้เรียน (Presentation)
   2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)
  2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (สมองซีกซ้าย)
3. การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด
   3.1 ปฏิบัติตามขั้นตอน (สมองซีกซ้าย)
   3.2 การนำเสนอผลการปฏิบัติงาน (สมองซีกขวา)
4. การนำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ (Application)
   4.1 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้พัฒนางาน (สมองซีกซ้าย)
   4.2 การนำเสนอผลงานการเผยแพร่ (สมองซีกขวา)

ที่มา :

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีข้อดีหลายประการ อาทิ


-          ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของนักเรียน
-          ช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียน
-          ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
-           ช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน
-          ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน
-          ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์หรือมุมมองกว้างขึ้น
-          ช่วยการปรับตัวในสังคมดีขึ้น   
-          การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีรูปแบบอย่างหลากหลาย ดังต่อไปนี้
            1.คิดและคุยกัน(Think Pairs Share) , เพื่อนเรียน(Partners) , ผลัดกันพูด(Say and Switch)
ทั้ง 3 รูปแบบเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกัน ให้นักเรียนจับคู่กันในการตอบคำถาม อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสถานการณ์ หรือทำความเข้าใจเนื้อหาที่เป็นความคิดรวบยอดที่กำหนดให้
            2.กิจกรรมโต๊ะกลม(Roundtable หรือ Roundrobin)
เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกลุ่มนักเรียนที่มีจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคน เขียนความคิดเห็นของตน บอกเล่าประสบการณ์ความรู้ หรือสิ่งที่ตนกำลังศึกษาให้เพื่อนคนที่อยู่ถัดไปโดยเวียนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง สมาชิกทุกคนจะใช้เวลาเท่าๆกันหรือใกล้เคียง
            3.คู่ตรวจสอบ(Pairs Check) , มุมสนทนา(Corners) , ร่วมกันคิด(Numbered Heads together)
เป็นรูปแบบการสอนที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ให้ช่วยกันตอบคำถาม แก้โจทย์ปัญหา หรือทำแบบฝึกหัด เมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มย่อยสามารถตอบปัญหา หรือแก้โจทย์ได้แล้ว ให้แลกเปลี่ยนกันตรวจสอบคำตอบ โดยการจับคู่ตรวจสอบ หรือจัดมุมสนทนา
            4.การสัมภาษณ์แบบสามขั้นตอน(Three Step Interview)
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบนี้มี 3 ขั้นตอน โดยครูกำหนดคำถามหรือประเด็นโจทย์ปัญหาให้นักเรียนตอบ มีหลักการดังนี้
- นักเรียนจับคู่กัน คนที่ 1 เป็นผู้สัมภาษณ์โดยถามคำถามให้คนที่ 2 เป็นผู้ตอบ
- นักเรียนสลับบทบาทกัน จากผู้ถามเป็นผู้ตอบ และจากผู้ตอบเป็นผู้ถาม
- นักเรียนในแต่ละกลุ่มย่อย ผลัดกันเล่า สิ่งที่ตนรู้จากคู่ของตน ให้กลุ่มทราบ
            5.การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม(Team Games Tournament หรือ TGT) , การแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์(Student Team Achievement Division หรือ STAD)
เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

·                                              การนำเสนอบทเรียน(Class Presentation)
·                                              การจัดทีม(Team)
·                                              การแข่งขัน/การทดสอบ(TGTใช้การแข่งขัน ส่วน STADใช้การทดสอบ)
·                                              การยอมรับความสำเร็จของทีม(Team Recognition)

            6.ปริศนาความรู้(Jigsaw)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกันโดยครูผู้สอนแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียน ออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มค้นคว้าคนละหัวข้อย่อย โดยนักเรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ที่ตนได้รับมอบหมายจากกลุ่ม สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษา จากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตน เพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง
            7.การสืบสอบเป็นกลุ่ม(Group Investigation)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นบรรยากาศการทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ ที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อย และเลือกวิธีการแสวงหาคำตอบในเรื่องนั้นๆด้วยตัวเอง หลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคน จะรายงานความก้าวหน้าและผลการทำงานให้กลุ่มตนเองทราบ
            8.การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล(Team Assisted Individualization หรือ TAI)
เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือ และการเรียนการสอนแบบรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
            9.การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน(Cooperative Integrated Reading and Composition หรือ CIRC)
เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มีองค์ประกอบน่าสนใจ ได้แก่ การสร้างกลุ่มอ่าน การจัดกลุ่มย่อย กิจกรรมการอ่านพื้นฐาน การหาเพื่อนช่วยตรวจสอบ การทดสอบ การสอนอ่าน การสอนเขียน เป็นต้น                                                                      รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถจัดได้อย่างหลากหลาย แต่ทุกแบบมีลักษณะร่วมกัน คือ แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆประมาณ 2-6 คน โดยสมาชิกทุกคนช่วยเหลือกัน มีการฝึกฝนการทำงานกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม และการประเมินผลเป็นรายบุคคล
นอกจากนี้ ยังพบว่าไม่มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งสามารถใช้ได้กับบทเรียนได้ทุกลักษณะ ในการเรียนการสอนเนื้อหาในบทหนึ่งๆ ครูผู้สอนอาจจะต้องใช้รูปแบบมากกว่าหนึ่งรูปแบบมาผสมผสาน
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

หนังสืออ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2543. เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. โรงพิมพ์การศาสนา กรมศาสนา.กรุงเทพฯ.                                                                                                                                                                                                                                                        วิธีสอนแบบซิปปา (cippa  model)
            เป็นวิธีการสอนหรือจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 5 ประการสำคัญคือ (ชูชาติ เชิงฉลาด,หน้า229)
1.C construct หมายถึงการสร้างความรู้ตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้ (Cornstructivism)
2. I interaction หมายถึงการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. P physical participation หมายถึงการมีส่วนรวมทางกาย

4.P process learningหมายถึงการเรียนรู้กระบวนการต่างๆที่เป็นทักษะต่อการดำรงชีวิต
5.A application. หมายถึงการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบซิปปามีองค์ประกอบสำคัญห้าประการดังกล่าวแล้วครูผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถจัดกิจกรรมใดก่อน-หลังได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ

วิธีสอนแบบบูรณาการ
          
            เป็นการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิชาการ หลายหลายแขนงในลักษณะสหวิทยาการโดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการคิดกระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการแสวงหาความรู้ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดจนแนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
วิธีการสอนแบบการมีขั้นตอนในการสอนดังต่อไปนี้
1.กำหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้
2.กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3.กำหนดเนื้อหาของเรื่อง
4.กำหนดขอบเขตการเรียนรู้
5.ดำเนินกิจกรรม
6.ประเมิน

วิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง (Story Line)
1.วิเคราะห์หลักสูตร โดยรวมของทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดหัวข้อที่จะนำมาบูรณาการ
2.กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยเรียงลำดับหัวข้อแบ่งออกเป็นตอน ๆ ซึ่งต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญทั้ง 4 ประการ ได้แก่ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิต และเหตุการณ์สำคัญ ในส่วนรายละเอียดนั้นเป็นหน้าที่ของผู้เรียนในการเติมเต็มเรื่องราวต่าง ๆ
3.กำหนดคำถามหลักเพื่อใช้ในการเปิดประเด็นนำเข้าสู่กิจกรรม และเชื่อมโยงเรื่องราวและกิจกรรมในแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน วางรูปแบบกิจกรรมย่อย ๆ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมคิดปฏิบัติ เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามหลักนั้น ๆ กิจกรรมควรมีความหลากหลายและน่าสนใจเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน และควรเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะมีส่วนร่วมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.จัดเตรียมสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและลักษณะการจัดชั้นเรียน
5.กำหนดแนวทางการประเมินผล ควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงให้มากที่สุด

ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิธี Story line มีดังต่อไปนี้
1. กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะเรียน เรียกว่า เส้นทางเดินเรื่อง (Story line) ให้เหมาะสม หัวข้อเรื่องจะเป็นความคิดรวบยอดหรือหัวข้อย่อยที่ผู้เรียนจะต้องเรียน โดยผูกเป็นโครงเรื่อง ซึ่งมาจากองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ ฉาก ตัวละคร การดำเนินชีวิตของตัวละคร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โครงเรื่องจะเป็นโครงสร้างของเนื้อหาสาระที่จะเรียน
2. การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้มีคำถามหลักหรือคำถามสำคัญ (Key Questions) คำถามหลักเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก จะทำหน้าที่ดำเนินเรื่องที่จะเชื่อมโยงแต่ละตอนให้ต่อเนื่องกัน คำถามหลักจะเชื่อมโยงเนื้อหาและกิจกรรมเข้าด้วยกัน
3. กิจกรรมของผู้เรียน ผู้เรียนจะทำกิจกรรมเพื่อตอบคำถาม โดยทำเป็นรายบุคคลหรือร่วมกันทำกิจกรรมอาจจับคู่กันทำกิจกรรม หรือจัดเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน หรือร่วมกันทำทั้งห้อง โดยกำหนดสื่อหรืออุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำกิจกรรม
4.  การประเมินการเรียนรู้ จะประเมินจากคำถามหลักและกิจกรรมเป็นการประเมินในสภาพจริง (authentic assessment) ที่สะท้อนให้เห็นผลจากการเรียนรู้ว่าผู้เรียนได้ทำอะไรในด้านการใช้ภาษา ด้านการทำงานร่วมกับเพื่อน ด้านการแก้ปัญหา และด้านความรู้ เป็นการประเมินด้านคุณภาพและผลการเรียนของผู้เรียน
5. กำหนดเวลาเรียนแต่ละตอน การสอน Story line ไม่จำเป็นต้องสอนโดยใช้เวลาต่อเนื่องกันเป็นเวลาทั้งวัน แต่ผู้สอนอาจแบ่งเวลาการสอนแต่ละตอนโดยกำหนดเวลาสอนแต่ละตอนตามที่กำหนดหัวข้อเรื่อง และกิจกรรมการเรียนบางตอนใช้เวลา 1 ชั่วโมง บางตอนอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันแล้วแต่กิจกรรมการเรียน

การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบStory Line  เป็นการประเมินจากการสังเกตหรือ ประเมินจากผลงาน หรือชิ้นงานของนักเรียน ผู้สอนต้องเก็บข้อมูลแล้วแปลออกมาเป็นคุณภาพ เช่นการประเมินจากการจัดนิทรรศการและผลงานที่รวบรวมในแฟ้มสะสมผลงาน อาจให้นักเรียนเลือกผลงานที่นักเรียนพอใจ พร้อมอธิบายเหตุผลที่เลือกผลงานชิ้นนั้นมาประเมิน ความก้าวหน้าของพัฒนาการเด็ก โดยมีข้อคิดในการประเมิน ดังนี้
1. ประเมินเป็นระยะ
2. ครูควรมองการประเมินผลของเด็กในเชิงบวก
3. ให้เด็กมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานที่นักเรียน ชอบ ไม่ชอบ หรือชิ้นงานที่เขาภูมิใจ
4. ไม่ควรเปรียบเทียบผลงานเด็กกับเพื่อนๆ
แนวคิดหลักของการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline
ทิศนา แขมมณี (2546 : 54) ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline นี้ พัฒนาโดย ดร.สตีฟ เบ็ล และแซลลี่ ฮาร์คเนส (Steve Bell and Sally Harkness) จากสก็อตแลนด์ โดยมีแนวคิดหลักของทฤษฎี ดังนี้
1.การเรียนรู้ที่ดีควรมีลักษณะบูรณาการ หรือเป็นสหวิทยาการ คือเป็นการเรียนรู้ที่ผสมศาสตร์หลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน
2.การเรียนรู้ที่ดีเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นผ่านทางประสบการณ์ตรง หรือ การกระทำ หรือ การมีส่วนร่วมของผู้เรียนเอง
3.ความคงทนของผลการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียนรู้หรือวิธีการที่ได้รับความรู้มา
4.ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คุณค่าและสร้างผลงานที่ดีได้ หากมีโอกาสลงมือกระทำ
ดารกา วรรณวนิช (2549 : 155) ได้กล่าวเพิ่มเติมแนวคิดของการจัดการเรียนรู้แบบStoryline หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนโดยการสร้างเรื่องไว้ ดังนี้
1.ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
2.การบูรณาการหลักสูตร องค์ความรู้ ทักษะการเรียน และกระบวนการเรียนรู้ จากหลากหลายสาขาวิชา มีลักษณะเป็นการเรียนแบบบูรณาการสหวิทยาการ
3.การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงในสถานการณ์ต่างๆ
4.การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co–operative learning)
5.การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในการเรียนรู้ของตนอย่างเต็มศักยภาพ
6.การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนมุ่งพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) และทักษะการตัดสินใจ (Decision making skill) ผ่านกิจกรรมต่างๆ
7.ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) องค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นพบ (Discover)คำตอบ จากคำถามหลักที่ครูกำหนดขึ้น
8.การเชื่อมโยงองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้จากห้องเรียนออกไปสู่ชุมชนและชีวิตจริงของผู้เรียน
9.ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ สนุกสนาน มีชีวิตชีวา มีความสุข และตระหนักในคุณค่าของการจัดการเรียนรู้
กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี Storyline
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline
1.ข้อดี
การเรียนรู้เช่นนี้ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกัน ครูวางโครงเรื่อง ผู้เรียนลงรายละเอียดที่มาจากประสบการณ์ชีวิต แล้วสร้างการเรียนรู้ใหม่ที่เชื่อมต่อจากความรู้เดิม มีการแลกเปลี่ยนความคิดและเคารพในความคิดเห็นของกันและกัน ผู้เรียนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในผลงานที่สร้าง และกลายเป็นแรงผลักดันให้มีการแก้ปัญหา หากมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้น
นอกจากนี้ ครูยังสามารถบูรณาการทุกวิชาได้ในทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันนักเรียนก็ได้เรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริง รู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย เมื่อผู้เรียนมีความสุข จุดหมายของการเรียนรู้ก็นับได้ว่าประสบความสำเร็จแล้ว
นักเรียนจะเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน ในระดับที่สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ได้ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ
2.ข้อจำกัด
-กิจกรรมนี้อาจเหมาะกับเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต
-ค่อนข้างใช้เวลาในการเรียนรู้                                                                                       




วิธีการสอนแบบปุจวิสัชนา                                      
            เป็นการเรียนรู้แบบถามตอบเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเองการตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถามขณะเดียวกันผู้ตั้งคำถามจะต้องมีคำตอบอยู่ในใจการสอนแบบนี้ในการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์วิจารณ์และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบปุจฉาวิฉันชนาจะใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
            ขั้นตอนการสอนแบบปุจฉาวิสัสชนามี6ขั้นตอนดังนี้
            ขั้นที่ 1 แนะนำรูปแบบการเรียน ผู้สอนกับผู้เรียนจะกำหนดหัวข้อการเรียนและจุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อของการตั้งคำถามให้จุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อของการตั้งคำถามให้ตรงจุดประสงค์
            ขั้นที่ 2 อ่านหรือดูสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคำถามผู้เรียน ศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆหรือสิ่งที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละหกถึงแปดคุณผู้เรียนศึกษาสื่อและตั้งคำถามลักษณะของคำถามจะแบ่งได้เป็นสามลักษณะดังนี้
            1.การตั้งคำถามที่เป็นข้อเท็จจริง
            2.คำถามที่ต้องการคำอธิบายชี้แจง
            3.คำถามเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเนื้อหาหรือความคิด
            ขั้นที่ 3 วางแผนและการจัดกลุ่มคำถาม ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะจัดกลุ่มคำถามของตนตามเนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกันคัดเลือกประเด็นคำถามที่ไม่ตรงประเด็นออกแล้วนำคำถามของทุกกลุ่มมารวมกัน
            ขั้นที่ 4 ดำเนินการถามตอบ ควรมีการจัดที่นั่งในการดำเนินการโดยผู้ตอบคำถามจากหนังหน้าฉันส่วนผู้ถามจะนั่งด้านข้างของผู้ตอบคำถามมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน
            ขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระตามประเด็นคำถามโดยจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาสาระความรู้เข้าด้วยกันและตั้งเป็นหัวข้อเรื่องที่เป็นคำตอบคล้ายกันเข้าด้วยกัน
            ขั้นที่ 6 กิจกรรมสร้างสรรค์ เมื่อตอบประเด็นคำถามหมดทุกประเด็นแล้วผู้เรียนแต่ละกุมจะประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรมเช่นทำจมูกถามตอบเขียนบทความประกวดสมุดบันทึกความรู้บทวิจารณ์เขียนแผนภูมิด้วยแผนความคิด (mind mapping)จัดทำป้ายนิเทศ สรุปความคิดรวมกันทั้งชั้น                                               


                                 
 การสอนแบบโครงสร้างความรู้(Graphic Organizer)
            การสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด เป็ นการฝึ กให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลหรือความรู้ จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคําบรรยาย แล้วนําข้อมูลมาจัดกลุ่ม เขียนเป็ นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้าง ความคิด กระบวนการคิด และความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด โดยใช้รูปภาพ หรือแผนภาพ
            1. แผนผังความคิด (Mind Mapping) เป็ นการแสดงโครงสร้างของความสัมพันธ์ของกระบวนการคิด ตั้งแต่ต้นจนจบ ช่วยให้มองเห็น ภาพรวมของความคิดและเค้าโครงของความคิดในเรื่องที่กาลังคิด ทําให้มองเห็นความสัมพันธ์ของความคิดทําได้โดยเขียนความคิดหลักไว้ตรงกลางและโยงเส้นให้สัมพันธ์กับความคิดรองความคิดย้อย และความคิดที่แยกย่อยที่มี ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันก็ขยายได้ต่อไปอีก ไม่มีทิศทางที่กำหนดแน่นอนตายตัว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEinhVFRx9LWiceNfZiwSF7vjg6SlM1nMofvYL5ZRm_JkQB2DQVBsm_VKSafpYuCiJQT4WgnSFv1QEgYX7jBQGqdQtOK5G86mofb6OdN-jzbBKz00UDh2wrIkYvC3ECTuMfjE0xGIU4VuuAg/s640/112.jpg

ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้(Tree Structure)
      ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ จะใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ของเรื่องที่มีความสำคัญลดหลั่งกันเป็นลำดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ รูปร่างของการเขียนจะมีโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้านหรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้นหัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวบยอดอื่นๆที่มีความสำคัญรองรองลงไปตามลำดับ                   
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiH5rsCavVVSfNffr8tf72DW5ChnLj8GfbaxWzux5cPVXcmE9mTfHkWh1HSvSBNQXL0Zqz-ndlBuz3yATSMj6rG7De-mAMOEhdJTVWLv4aXCKwWhMRnUToFsKpndBz5MX6VFJPbCPoSYxxO/s400/113.gif
แผนผังรูปแบบเวนน์ ( Venn Diagram)

            เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของสิ่งของหรือแนวคิดตั้ งแต่สิ่งขึ้นไปว่าส่วนใดลักษณะใดที่ มีความเหมือนหรือความต่างกัน เป็นการคิดแบบหาตัวร่วมในสิ่งที่เหมือนกัน ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักจําแนกความ เหมือนและความต่างของสิ่งของ สถานที่ และบุคคล หรืออื่นๆได้ดี โดยการเขียนเป็นแผนภาพแสดง ความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างนี้
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjwrd3XDky1EVgLJPcTtwjB-UKQc3PsZrrkFKQNMUfg21hovSMzHWLY6FMmwWiGCuiuIHugMkJEPMemQy7NVfPJq_LsOKsA8n18V3PHfbA-er3Wc4jZPG5-SPbY7zdZu8UrxtWxc_NtUoNk/s640/aaaa.png
                                                                                                                               แผนผังความคิดแบบวงจร (The Circle)
            เป็นการคิดแบบเป็นวงจรหรือวงกลม โดยในวงกลมจะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบเพื่อเสนอขั้นตอนต่างๆที่สัมพันธ์เรียงลําดับเป็นวงกลม ตัวอยางเช่น 
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiopMbPHOCchdWm-nnxnOcTiKDFeSjV0bGaFWviRew92YiKLGf9AYc3JkE5fvVJbWPyl80HtdYoH5pyOe6VHq7mBciqevxpmdhCxR2D9zJU6NodX7LDZ_ObVU55PLASbxMiKMltkTRVE0RV/s640/155.jpg                                                                                                                                              แผนผังก้างปลา (The Fish Bone)
            เป็นการคิดหาสาเหตุของปัญหา เช่น แดงหนีเรียน เพราะสาเหตุใด เป็นต้นการเขียนแผนผังทําได้ โดยกำหนดเรื่องแล้ว หาสาเหตุและผลต่างๆในแต่ละด้าน
ตัวอย่างเช่น
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjNLu1lkUUNChfGK9U2PG_QqEk0lZnZPare30bDT4qg8t9xy5ftUdA2e7z0-cVBML_Tiqq8jAFl85LciwNCQzuorzZHC93o0lehcCt0dccUEzvrZSkgpBn3jzmauaVnuT9QQOSVXuCliefe/s640/fishbone.jpg                                                                                                                                                                      
แผนผังแบบลำดับขั้นตอน(sequence chart)
            แผนผังบบลำดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับขั้นตอน เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับต่อเนื่อง

ตัวอย่างเช่น                                                                                                                                    
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgB8VsvnoobyXWE6Ix6HZcToh2mqw651YTdKU9erhPcUXfSSkQB9BM7HlsfkwT7CaS5wuvPDlRt3GDyCI7xRwBDFIaUMljeXDqdM40pbVvTBoZ-Qgs6JuX6Ja293ulLndcrJVIMvc2YKAj6/s640/Flowchart.png





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น