วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

บทความที่ 9 : กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบตนเอง (Self-Directed Learning)



กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิธีการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning)
 
วิชา การออกแบบและการจัดการเรียนรู้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช 
ชื่อเรื่อง บทที่ 4 วัน/เวลาในการปฏิบัติกิจกรรม

คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

สวัสดี.... ฉันชื่อ พี่จ๊าบ วันนี้ฉันจะมาเป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้
ของคุณ ก่อนอื่น... เราต้องมาทราบกันก่อนว่า เราจะต้องเตรียม
อุปกรณ์ 4 อย่าง ได้แก่อะไรบ้าง เริ่มกันเลย!
            1. คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
            2. โปรแกรม MS Word
            3. หนังสือ วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
            4. ปากกา (สี) กระดาษ สมุดบันทึกการเรียนรู้


            กิจกรรมการเรียนรู้ มีทั้งหมด 1 ฐาน ฐานละ 4 กิจกรรม
ให้นักศึกษาปฏิบัติตามขั้นตอนตามรายละเอียดต่อไปนี้โดยเคร่งครัด ห้ามลัดขั้นตอนนะ
กิจกรรมทั้ง 4 กิจกรรม มีดังต่อไปนี้
            กิจกรรมที่ 1 : ทบทวนความรู้เดิม ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา ค้นคว้าประเด็นที่เราสนใจ
            กิจกรรมที่ 2 : เรียนรู้ในตำรา ศึกษา ค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ 
            กิจกรรมที่ 3 : สรุปสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ โดยใช้ผังความคิด

            กิจกรรมที่ 4 : ประเมินความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน


รู้หรือไม่ในฐานนี้ มีกิจกรรมละ 1-2 คะแนน รวมเป็น 5 คะแนน โดยให้นักศึกษาเขียนตอบทุกข้อ ขอให้ตั้งใจทำ และเรียนรู้ตามขั้นตอน จะเป็นประโยชน์ต่อเรามากจริงๆ พี่จ๊าบ Confirm

กิจกรรมที่1
ฐานที่ 1 กลยุทธ์การเรียนการสอน 

คำชี้แจง : ให้นักศึกษาอ่านคำชี้แจงและปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 :
ทบทวนความรู้เดิม ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา ค้นคว้าประเด็นที่เราสนใจ

กิจกรรมที่ 1.1 ทบทวนความรู้เดิม (10  นาที)*           
อุปกรณ์เบื้องต้นที่ใช้ : ปากกา/หนังสือการออกแบบฯ

 บทบาทผู้เรียน : การคิด การคิดไตร่ตรอง การใช้เหตุผลเพื่อทบทวนความรู้เดิม
                      “เราได้เรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายของคำว่า การเรียนการสอน (Instruction)และ การสอน (Teaching) แล้ว ในบทที่ 4 นี้จะนำพวกเราเรียนรู้ในเรื่องของ กลยุทธ์การเรียนการสอน ซึ่งเราต้องศึกษาทำความเข้าใจว่า กลยุทธ์การเรียนการสอนนั้นคืออะไรเสียก่อน จึงจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในภาพรวมนี้ได้........เอาล่ะ! ถึงคราวที่เราจะทบทวนความรู้เดิมกันเสียก่อนว่าเรา Get เรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ห้ามเปิดหนังสือนะ ตอบตามที่รู้เลยจริงๆ ใครเปิดหนังสือหรือค้นในเว็บไซต์ตอบขอให้ไม่มีแฟน จบนะ”555

1.1 จงตอบคำถามต่อไปนี้ (ใช้วิธีการเขียนตอบเท่านั้น)
1) กลยุทธ์การเรียนการสอน คืออะไร

ตอบ วิธีการสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ

2) สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ คืออะไร? ได้แก่อะไรบ้าง?

ตอบ การวางแผนการจัดการเรียนการสอน

3) ความต้องการและธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอนคืออะไร?

ตอบ วิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดของการประสบผลสำเร็จในความรู้หรือทักษะ


กิจกรรมที่ 1.2 ศึกษาธรรมชาติของเนื้อหา (30 นาที)*

  กิจกรรมในขั้นนี้ง่ายมากเลยนะ.. เราแค่ใช้ทักษะการอ่านและทำความเข้าใจเท่านั้น  กิจกรรมในขั้นนี้ก็คือ ให้นักศึกษาอ่านเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยคร่าวๆ ว่า ในบทที่ 4 เรื่องกลยุทธ์การออกแบบการสอน นั้น มันได้กล่าวถึงหัวข้อหลักอะไรบ้าง มีอะไรสำคัญบ้าง  โดยสามารถดูได้จากหน้าสารบัญนะ...อย่าหาว่าพี่จ๊าบสอนเลยนะ....จะบอกเคล็ดลับ 4 ประการ ในการอ่านไว้ให้ว่า.....
   อุปกรณ์ที่ใช้ : หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)
เคล็ดลับที่
ในการอ่านแบบจับใจความ ผู้อ่านต้องเริ่มต้นด้วยการมีสติ รู้ว่ากำลังอ่านเพื่อจับใจความ เพราะฉะนั้นห้ามหลงใหล หรือ อินทางด้านอารมณ์ไปกับเนื้อหา โดยส่วนใหญ่เราจะไม่นำเทคนิคอ่านจับใจความไปใช้กับการอ่านนวนิยาย หรือการอ่านบทกวี เพื่ออรรถรสนะ ยกเว้นจะเรียนสาขาอักษรศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ และอ่านเพื่อเตรียมตัวสอบไม่ทัน แบบที่เคยทำเมื่อสมัยเรียน
การอ่านอย่างมีสตินั้น อ่านไปก็ต้องพยายามหาคำตอบอยู่เสมอว่า ทำไม” “อะไร” “เมื่อไร” “อย่างไร” “ที่ไหนในบรรดาคำถามทั้ง 5 นั้น ทำไมเป็นคำถามที่ทรงพลังที่สุด
เคล็ดลับที่
ให้เปิดดูสารบัญหรือเรื่องย่อ (ถ้ามี) เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ก่อน เมื่อเห็นภาพใหญ่แล้วจะทำให้ง่ายขึ้นใน
การจับใจความนะ
หลังจากเปิดดูสารบัญหรือเรื่องย่อ เราควรจะทราบข้อมูล เพื่อตอบคำถามอะไรดังต่อไปนี้คือ เรื่องนี้เกี่ยวกับอะไรผู้เขียนต้องการนำเสนออะไร (แบบคร่าวๆ) และมีหลักในการนำเสนออย่างไรเช่น นักเขียนบางคนเริ่มจากการวางหัวเรื่องให้คนสงสัย แล้วค่อยๆ คลี่คลาย เพราะฉะนั้นช่วงท้ายจึงสำคัญ ในขณะที่บางคนจะวางประเด็นหลักไว้ก่อน แล้วจึงหาเหตุผลและประเด็นมาสนับสนุน
เคล็ดลับที่ 3
สรุปความแต่ละบท เพื่อตอบคำถามที่เหลือคือ ทำไม” “อย่างไร” “ที่ไหนดังเช่นตัวอย่างที่ยกไปแล้ว
บางคนจะเขียนใจความหลักของแต่ละย่อหน้าไว้ในประโยคแรก แล้วจึงค่อยๆ อธิบาย เพราะฉะนั้น หากพบการเขียนสไตล์นี้ สามารถอ่านประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า ก็จะได้เนื้อหาของย่อหน้าทั้งหมด 100 หน้า อาจจะใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมง หรือผู้เขียนบางคนวิธีสรุปความในตอนท้ายของแต่ละย่อหน้า อันนี้ถ้าจับสไตล์ได้ก็อ่านเพียงส่วนท้ายของแต่ละย่อหน้า หรือแต่ละบทเท่านั้น
เคล็ดลับที่
การทำโน้ตย่อ หรือ Short notes เป็นการบันทึกการสรุปใจความหลักเอาไว้ ประโยชน์ของการทำโน้ตย่อ
คือ วันหลังมาอ่านก็ไม่ต้องเสียเวลาสรุปความอีก เหมาะสำหรับย่อสรุปสิ่งที่มีความสำคัญ และต้องนำกลับมาใช้หรืออ้างอิงบ่อยๆ รวมถึงโน้ตไว้เพื่ออ่านสรุปก่อนสอบด้วย หากทำโน้ตย่อได้ทุกวิชาที่เรียน รับประกันว่าสอบได้คะแนนดีแน่ๆ พี่จ๊าบทำตลอดเวลาที่เรียนนะ โดยเฉพาะวิชาที่มีประเด็นมากๆ จำไม่ไหว.....


กิจกรรมที่ 1.3 ค้นคว้าประเด็นที่เราสนใจ (10 นาที)*

  จากกิจกรรมที่ 2 จากหัวข้อในบทที่ 4 กลยุทธ์การเรียนการสอนที่เราได้อ่านและศึกษามาทั้ง 9 หัวข้อมาอย่างคร่าวๆ แล้ว ขอให้นักศึกษาได้เลือก หัวข้อที่สนใจมา 5 หัวข้อ โดยให้ระบุหัวข้อที่สนใจโดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปยังหัวข้อที่สนใจน้อยที่สุด ตามหมายเลขต่อไปนี้……….”
อุปกรณ์ที่ใช้ : หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)
ฉันมีความอรรถรสและสนใจใคร่รู้ในหัวข้อ (เขียนชื่อหัวข้อตามสารบัญ)

1. หัวข้อ เรื่อง  การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)

สาระสำคัญของหัวข้อนี้
    คือ กระบวนการที่ผู้สอนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการบอก อธิบาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนการสาธิตนั้นๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต การจัดการเรียนรู้แบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนของการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา นาฏศิลป์ ศิลปศึกษา เป็นต้น

เหตุผลที่สนใจ
    เพราะ เป็นการสอนผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการได้ดูของจริงการปฎิบัติจริง

2. หัวข้อ เรื่อง ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม(Constructivism)

สาระสำคัญของหัวข้อนี้
    คือ ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้ ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้ ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ

    1. Cognitive Constructivism หมายถึง ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียน ปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่ง เกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น

    2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น

เหตุผลที่สนใจ 
    เพราะ เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนนั้นสร้างความรู้ด้วยตนเองนั้น เป็นการฝึกสมองและปัญญาให้พีฒนาอยู่เสมอ

3. หัวข้อ เรื่อง การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(
Child-centered learning)

สาระสำคัญของหัวข้อนี้
 
    คือ เป็นวิธีการซึ่งช่วยปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อันก่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยการเรียนรู้นี้จะช่วยเพิ่มบทบาทของผู้เรียนภายในห้องเรียน และลดบทบาทการบรรยายหน้าห้องเรียนลง ซึ่งผู้สอนจะปรับบทบาทจากการบรรยายเป็นหลักเป็นการเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยจะต้องเตรียมสภาพห้องเรียนและวิธีการสอนที่เอื้อต่อแนวคิดนี้[3] ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยให้มีพัฒนาการของผู้เรียนสูงที่สุด

เหตุผลที่สนใจ
     เพราะ เป็นการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างแท้จริงและมีความสุข

4. หัวข้อ เรื่อง ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)

สาระสำคัญของหัวข้อนี้
    คือ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด

เหตุผลที่สนใจ
    เพราะ เป็นการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในรูปแบบของการแก้ปัญหาและลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

5. หัวข้อ เรื่อง การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom (Bloom's Taxonomy)

สาระสำคัญของหัวข้อนี้
    คือ Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
  • ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
  • ความเข้าใจ (Comprehend)
  • การประยุกต์ (Application)
  • การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
  • การสังเคราะห์ (Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
  • การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด

เหตุผลที่สนใจ
    เพราะ ได้เข้าใจและแบ่งแยกการเรียนรู้ตามระดับได้



กิจกรรม2
กิจกรรมที่ 2 :“เรียนรู้ในตำรา ศึกษา ค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์

กิจกรรมที่ 2.1 เรียนรู้ในตำรา (30-40 นาที)*

อุปกรณ์ที่ใช้ : หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)

 กิจกรรมนี้....พี่จ๊าบขอบอกเลยว่า เราต้องใช้ทักษะการอ่านและความคิดสร้างสรรค์ลงไปด้วยในการจดบันทึกนะ แน่นอนว่า....เนื้อหา และวิถีการเรียนรู้และความเข้าใจของทุกคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นกิจกรรมในที่นี้คือ

 1. ให้นักศึกษาทำการศึกษาและเรียนรู้เนื้อหาในตำรา ตามหัวข้อที่เราสนใจ และ ทำการบันทึกในกระดาษที่กำหนดให้ หัวข้อละ 1 หน้า จำนวน 5 หัวข้อ โดยสามารถใช้วิธีเขียนหรือบันทึกด้วยตัวอักษร เขียนเป็น Keyword  (คำสำคัญแล้วอธิบาย)  วาดรูปเป็นภาพหรือแผนผังความคิด สร้างเป็นภาพการ์ตูน มีเรื่องราว หรืออะไรก็ได้ตามความถนัดและสนใจ ที่สำคัญคือต้องมีแก่นที่มีใจความสำคัญด้วยนะ

ใบกิจกรรมที่ 2.1
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ
เรื่อง ประวัติโดยสังเขปของการออกแบบการเรียนการสอน

มีสาระสำคัญดังนี้ 




 ใบกิจกรรมที่ 2.1 
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 2
เรื่อง รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE Model)
มีสาระสำคัญดังนี้ 
 รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 ADDIE MODEL คือ การออกแบบระบบการเรียนการสอน กล่าวคือกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการ สอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด มีแบบจําลองจํานวนมากมายที่นักออกแบบการสอนใช้และสําหรับตามความ ประสงค์ทางการสอนต่างๆ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอน

แบบ
 ADDIE สามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไป ได้เป็น 5 ขั้น ประกอบไปด้วย
1. Analysis (การวิเคราะห์)
2. Design (การออกแบบ)
3. Development (การพัฒนา)
4. Implementation (การนําไปใช้)
5. Evaluation (การประเมินผล)


ใบกิจกรรมที่ 2.1 
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 3
เรื่อง การออกแบบการเรียนการสอน

มีสาระสำคัญดังนี้ 

 ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน เป็นคำที่ประกอบด้วยคำสำคัญ 2 คำ คือ “การออกแบบและ การเรียนการสอน” 
 การออกแบบ (design) หมายถึง การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่ดำเนินการก่อนการ พัฒนา หรือสร้างบางสิ่ง บางอย่าง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจงไม่ใช่ การแก้ปัญหาทั่วไป
 ดังนั้นเมื่อนำการออกแบบมาใช้กับการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนจึงแตกต่างจากการวางแผน การเรียนการสอนทั่วไปตรงที่การออกแบบการเรียนการสอนมี จุดมุ่งหมายที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อแก้ปัญหา การเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งของนักเรียน

 การสอน” (teaching) เป็นการดำเนินการสอนในลักษณะที่เป็นทางการในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจาก ลัทธิความเชื่อ เช่น ในเรื่องของอาชีพ การสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทักษะ และ เจตคติโดยเน้นหนักที่บทบาทของผู้สอน และความสัมพันธ์ของผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ครูกับศิษย์
การถ่ายทอดโดยครู เรียกว่าเป็น การสั่งสอนหรือ การสอน” 

 ต่อมาเมื่อวิทยาการทางการศึกษาก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ การสอนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นศาสตร์มากขึ้น จึงนิยมใช้คำว่า “การเรียนการสอน” (instruction) ดังนั้น การเรียนการสอนจึงหมายถึงการจัดเตรียม เงื่อนไขการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้อย่างตั้งใจเพื่อทำให้ผู้เรียน เกิดความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งตามที่ต้องการ



ใบกิจกรรมที่ 2.1 
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 4
เรื่อง การจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มีสาระสำคัญดังนี้ 
 
 
 ใบกิจกรรมที่ 2.1 
หัวข้อที่ฉันสนใจ อันดับ 5
เรื่อง ทักษะสำหรับอนาคต (TDRI)


มีสาระสำคัญดังนี้ 

 ในศตวรรษที่ 21 การเรียนแบบท่องจำ และการเรียนเพื่อรู้แต่ข้อมูล (information) เพียงอย่างเดียว จะมีประโยชน์น้อยลงทุกที หรือเรียกได้ว่า ความรู้จาก 1i ไม่เพียงพอ แต่ต้องปรับเป็น 4i คือ
(i)magination – จินตนาการ
(i)nspiration – แรงดลใจ
(i)nsight – ความเข้าใจลุ่มลึก
(i)ntuition – ญานทัศน์ การหยั่งรู้


กิจกรรมที่ 2.2 ศึกษา ค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ (ไม่จำกัดเวลา)*
อุปกรณ์ที่ใช้ : คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต/หนังสือฯ/ปากกา/ปากกาสี/กระดาษโน้ต (ถ้ามี)

         1. จากนั้น เมื่อทำการบันทึกเนื้อหาที่สำคัญแล้ว ให้นักศึกษานำหัวข้อที่เราสนใจ ทั้ง ไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมในเว็บไซต์ต่างๆ และให้จดบันทึกการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นที่มีอยู่นอกเหนือจากตำราเรียน จำนวน 2 หน้า (หรือมากกว่านี้ก็ได้) โดยมีเว็บไซต์ในการช่วยค้นหาตัวอย่างดังต่อไปนี้ 
- www.google.com - www.youtube.com 
- www.yahoo.com - www.bing.com
หรือค้นหาตำราออนไลน์ ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ของ ม.รามคำแหง ได้ที่   http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/findbook.asp
เว็บไซต์ทางการศึกษา/วิจัย เช่น www.gotoknow.org  และ http://www.vcharkarn.com/  http://www.obecresearch.net  และ http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php เป็นต้น 


 2.2.1 ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
    การออกแบบการเรียนการสอนมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการในการวิจัยและพัฒนาสื่อที่ใช้ สำหรับฝึกอบรมกำลังคนที่ทำงานในด้านต่าง ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และต่อมามีความตื่นตัวใน การพัฒนาบทเรียนแบบโปรแกรมทำให้งานด้านการออกแบบการเรียนการสอนเป็นงานที่ได้รับความ สนใจมากขึ้น ผู้ที่ทำงานในด้านการออกแบบการเรียนการสอนในช่วงปี ค.ศ. 1970 ได้แก่ บุคคลที่เรียก ตัวเองว่า นักจิตวิทยาการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ หรือนักออกแบบการฝึกอบรม คำว่า “การออกแบบ การเรียนการสอน” เพิ่งจะนำมาใช้เมื่อช่วงปี ค.ศ. 1980 และเริ่มต้นในภาคเอกชนที่อยู่ในสายธุรกิจและ อุตสาหกรรม ก่อนที่จะเข้ามาสู่ภาครัฐ เช่น ในงานด้านการสาธารณสุข การศึกษาและการทหาร สำหรับ ประเทศไทย คำว่า “การออกแบบการเรียนการสอน” เป็นคำที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในช่วงของ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก (พ.ศ. 2540-2550) และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยคุรุสภา (2556) ได้กำหนดให้การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นมาตรฐานความรู้และประสบการณ์ วิชาชีพของครู จะเห็นว่าการออกแบบการเรียนการสอนได้มีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทาง เดียวกันทั้งการศึกษาของไทยและสากล ดังที่ริชี เคลน และเทรซี (Richey, Klein, & Tracy, 2011, p. 1) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนการสอนได้กลายเป็นวิชาชีพหนึ่ง เช่นเดียวกับที่เป็นศาสตร์การศึกษาสาขาหนึ่ง ในฐานะของวิชาชีพการออกแบบการเรียนการสอน ผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้จะต้องมีความชำนาญ ในการท างานหรือมีสมรรถนะของวิชาชีพที่ระบุไว้ชัดเจน ในฐานะเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง การออกแบบ การเรียนการสอนอาศัยการวิจัยและทฤษฎีเป็นฐานในการสร้างความรู้ 

2.2.2รูปแบบการสอน ADDIE (ADDIE Model)

ADDIE MODEL คือ การออกแบบระบบการเรียนการสอน กล่าวคือกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการ สอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด มีแบบจําลองจํานวนมากมายที่นักออกแบบการสอนใช้และสําหรับตามความ ประสงค์ทางการสอนต่างๆ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบ ADDIE สามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไป ได้เป็น 5 ขั้น ประกอบไปด้วย
1. Analysis (การวิเคราะห์)
2. Design (การออกแบบ)
 3. Development (การพัฒนา)
4. Implementation (การนําไปใช้)
5. Evaluation (การประเมินผล)
 1. ขั้นการวิเคราะห์(Analysis)
 ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสําหรับขนตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหาระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทําได้ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการ วินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจําเป็น) , การวิเคราะห์งานการวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย และ รายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านนี้จะถูกนําเข้าไปยังขั้นตอน การออกแบบต่อไป
2. ขั้นการออกแบบ (Design)
 ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อวางแผนกลยุทธ์สําหรับ พัฒนาการสอน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกําหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการ วินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์และขยายผลสารัตถะการสอน ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
 1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนําเสนอ และ แบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดําเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียน ผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของ จอภาพเพื่อใช้ในการนําเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
            1. การกําหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนําเสนอ
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การกําหนดสีได้แก่สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ
5. การกําหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอํานวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
3. ขั้นการพัฒนา (Development)
 (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน) ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ สร้าง แผนการสอนและสื่อของบทเรียน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จําลอง) และ ซอฟต์แวร์ (เช่นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ
1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนนี้เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็น การสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในขั้นต่อไปจะเป็น การตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นตอนของบทเรียน
 4. ขั้นการนําไปใช้ (Implementation) .
เป็นขั้นตอนการดําเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนําส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้น เรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนําส่งการสอน อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆสนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และ เป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียน จากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้เป็นการนําบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทําการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนําไปใช้กับ กลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนําไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและ ประสิทธิภาพ
 5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
            การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติโดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทําแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนขั้นตอนนี้วัดผล ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดําเนินการให้เป็นผลแล้ว การ ประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation)หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยสองขั้นตอนนี้จะดําเนินการดังนี้
5.1 การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) ดําเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้คือ เพื่อ ปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนําแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล
5.2 การประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดําเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การ ประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)

2.2.3การออกแบบการเรียนการสอน
  ความหมายของการออกแบบ เป็นการถ่ายทอดจากรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ การออกแบบต้องใช้ศาสตร์แห่งความคิดและศิลป์ร่วมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น
            การออกแบบการเรียนการสอน จึงเป็นกระบวนการวางแผนการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยมีการวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนการสอน สื่อกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมถึงการประเมินผล เพื่อให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            การออกแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้สอนวางแผนการสอนอย่างมีระบบ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมาย และประสบความสำเร็จผู้สอนต้องพิจารณาหลักการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
            1. การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอนนี้เพื่อใคร ใครเป็นผู้เรียนหรือกลุ่มเป้าหมาย ผู้ออกแบบควรมีความเข้าใจและรู้จักลักษณะของกลุ่มผู้เรียนที่เป็นเป้าหมายในการเรียนอีเลิร์นนิง
            2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนอะไร มีความรู้ความเข้าใจ และ/หรือ มีความสามารถอะไร ผู้สอนจึงต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนให้ชัดเจน
            3. ผู้เรียนจะเรียนรู้เนื้อหาวิชานั้น ๆ ได้ดีที่สุดอย่างไร ควรใช้วิธีการและกิจกรรมการเรียนรู้อะไรที่จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ และมีสิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง
            4. เมื่อผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการเรียน จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีการเรียนรู้เกิดขึ้น และประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ จะใช้วิธีใดประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
            สรุปได้ว่า การออกแบบการเรียนการสอน ควรมีการวางแผนเพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนเป็นใคร มีคุณลักษณะพื้นฐานอย่างไร กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอนครั้งนั้นอย่างไร จะใช้วิธีการเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ และวิธีการประเมินผลการเรียนอะไรบ้าง จึงจะสามารถทำให้การสอนนั้นบรรลุเป้าหมาย คือ ภายหลังเรียนแล้วรู้ เข้าใจ จดจำ นำไปใช้ ทำได้ สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ได้เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาในการออกแบบการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้เรียน วิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ จุดมุ่งหมาย และการประเมิน

2.2.4การจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดทำแผนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ  
สาระสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น เป็นการปรับ
เปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้ โดยเน้นประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ พร้อมทั้งคำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง
บุคคล ปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นการ ปฏิรูปการเรียนรู้จึงควรเริ่มที่สถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการประกันคุณภาพภายในผสมผสานอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการ เรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ถ้าหากจะกล่าวโดยสรุปของหลักสำคัญของการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะต้องคำนึงถึงหลักที่สำคัญ ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ภู่วิภา
ดาวรรธน์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แยกเป็นข้อๆรวม 7 ข้อ ดังนี้
1ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากที่สุด
3. เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง หมายความว่าให้สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง สามารถวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
4เป็นการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตนได้ คือรู้วิธีคิดของตนเองและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดอย่างเหมาะสม ไม่เน้นที่การจดจำเพียงเนื้อหา
5. เน้นการประเมินตนเอง เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมิน การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
6เน้นความร่วมมือ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
7เน้นรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งอาจจัดได้ทั้งในรูปเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล

จะเห็นได้ว่าทั้ง 7 ข้อนี้เป็นหลักสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ผู้สอนควร
คำนึงถึงอย่างยิ่ง   ดังนั้นการจัดทำแผนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นผู้จัดทำจะต้องคำนึกถึงจุดหมายของที่เราต้องการให้เด็กไปถึงที่ไม่ใช่ที่ครูบอกให้โดยตรงเพียงแต่ครูทำหน้าที่เป็นคนนำทางควบคุมตรวจสอบเท่านั้น ซึ่งนักเรียนจะได้ฝึกการคิกการทำด้วยตัวเองจะได้นำออกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

2.2.5ทักษะสำหรับอนาคต (TDRI)

ในศตวรรษที่ 21 การเรียนแบบท่องจำ และการเรียนเพื่อรู้แต่ข้อมูล (information) เพียงอย่างเดียว จะมีประโยชน์น้อยลงทุกที หรือเรียกได้ว่า ความรู้จาก 1i ไม่เพียงพอ แต่ต้องปรับเป็น 4i คือ
(i)magination – จินตนาการ
(i)nspiration – แรงดลใจ
(i)nsight – ความเข้าใจลุ่มลึก
(i)ntuition – ญานทัศน์ การหยั่งรู้
เพราะเรากำลังเจอโจทย์ท้าทายแห่งยุค ในการพัฒนาคนให้พร้อมสำหรับ “งานที่ยังไม่มีในวันนี้ โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร
ดังนั้น ทักษะสำหรับโลกอนาคตที่ต้องเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้ คืออะไร ติดตามเพิ่มเติมจาก ดร.สมเกียรติ ตั้งกิวานิชย์ ในคิดยกกำลังสอง: ทักษะสำหรับโลกอนาคต ออกอากาศทางไทยพีบีเอส เมื่อ 4ธันวาคม 2560
กิจกรรมที่ 3
กิจกรรมที่ 3 : สรุปสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ โดยใช้ผังความคิด
กิจกรรมที่ 3.1 สรุปสิ่งที่เรียนรู้ สร้างแผนผังความคิดที่ดีงามและสร้างสรรค์ (20 นาที)*

 เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินคือ ชื่อหัวข้อ + จินตนาการ + การออกแบบ + Concept
ของรูปภาพ + เนื้อหาสาระ 
  พี่จ๊าบขอแนะนำแหล่งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างแผนผังความคิด คลิ๊กไปได้ที่ : http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/news_files/403_18_4.pdf




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




กิจกรรมที่4
กิจกรรมที่ 4 :“ประเมินความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน

กิจกรรมที่ 4.1 ประเมินความรู้ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน (ไม่จำกัด)*


“Hooray!!! ในที่สุด...คุณก็มาถึงจุดๆ นี้คือกิจกรรมสุดท้าย ขอแสดงความยินดีด้วยนะ ในการตรวจสอบพัฒนาการด้านความรู้ของเรา ว่าจะดีขึ้นมากน้อยขนาดไหน ให้นักศึกษาปฏิบัติตามดังนี้
ให้ย้อนกลับไปดูกิจกรรมที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมของเรา และดูกิจกรรมที่ 2 มา
เรื่อยๆ จนถึงกิจกรรมที่ สรุปสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ โดยใช้ผังความคิด และตอบคำถามต่อไปนี้ จากนั้นร่วมอภิปรายถึงกิจกรรมของตนเองที่ได้ศึกษาและเรียนรู้ ร่วมกันกับเพื่อนผ่านทาง Line, Facebook กันอย่างสนุกสนาน เฮฮา รื่นเริง ต้อนรับสงกรานต์


1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่ทำการศึกษาในบทที่ 4 ก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรม      การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-directed Learning) จงอธิบาย?

ฉันคนเดิม
 รู้เพียงเล็กน้อย ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ในเนื้อหาที่เรียน
ฉันคนใหม่
 ได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้นจากการทำกิจกรรม เพราะได้ศึกษาด้วนตนเองมากพอสมควร

2) สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ในการปฏิบัติกิจกรรมนี้
 คือ ได้เรียนรู้กลยุทธ์การสอนเทคนิคการจัดการเรียนกาสรสอนมากยิ่งขึ้น เพราะได้อ่าน ทำความเข้าใจ แลบะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

 ข้อดี คือ ได้ลงมือหาข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลเอง ทำให้กระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้นกว่าเดิม
 ข้อเสีย คือ  -

3) ระยะเวลาที่ปฏิบัติกิจกรรมทั้งหมด ..............1.................. วัน ............2................ชั่วโมง.............50........... นาที




วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

บทความที่ 10 กลยุทธ์การเรียนการสอน


บทที่ 4 กลยุทธ์การเรียนการสอน

    ในการออกแบบการเรียนการสอน มีสิ่งหนึ่งที่จะต้องพิจารณาคือ กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional strategies)” ซึ่งคำว่า กลยุทธ์เป็นการรวมวิธีการ วีปฏิบัติ และเทคนิคอย่างกว้างๆซึ่งครูใช้ในการนำเสนอเนื้อหาวิชาให้กับผู้เรียนและนำไปสู่ผลที่ได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ
   กลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีโดยทั่วไปคือ การบรรยาย การอภิปรายกลุ่มย่อย เป็นต้น ฯลฯ เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ ความต้องการทางทฤษฏีการเรียนการสอน ธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอน ทฤษฏีการเรียนการสอน หลักการเรียนรู้ การวิจัยการเรียนรู้ และความเข้าใจของผู้เรียนและการเรียนรู้
1. สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
    เมื่อมีการเขียนการจัดลำดับจุดประสงค์ และการสร้างแบบทดสอบแล้ว ผู้ออกแบบการเรียนการสอนก็พร้อมที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อออกแบบสภาวการณ์ของการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่จะทำประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ ไม่ว่าการเรียนการสอนจะเป็นรูปแบบใด ก็จะมีชุดของสภาวการณ์โดยทั่ว ๆ ไปที่ใช้กับทุก เหตุการณ์การเรียนรู้ ไดอะแกรมของซิลส์และคลาสโกว์ (Sells and Glasgow,1990:161) ได้แสดงให้เห็นถึงสภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐาน ของการเรียนการสอนปกติ สภาวการณ์เดียวกันนี้ จะรวมอยู่ในการเรียนการสอนทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการเรียนด้วยตนเอง หรือการเรียนเป็นกลุ่ม และไม่ว่าจะใช้สื่อหรือวิธีการเรียนการสอนใด เช่น การเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ภาพยนตร์ สถานการณ์จำลอง ฯลฯ


         บทนํา (introduction) จะช่วยนําความตั้งใจของผู้เรียนไปส่ภาระงานการเรียนรู้ (learning task) จูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของการประสบความสําเร็จตามจุดประสงค์ และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่กับการเรียนรู้เดิมที่มีมาก่อน
         การนำเสนอ (Presentation) เป็นการนําเสนอสารสนเทศ ข้อความจริง มโนทัศน์ หลักการ หรือวิธีการให้กับผู้เรียน ข้อกําหนดของการนําเสนอจะหลากหลายไปตามแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบความสําเร็จ และขึ้นอยู่กับพฤติกรรมแรกเข้าเรียนหรือพฤติกรรมที่แสดงว่ามีความพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอน (entry-leve behavior)
         การทดสอบตามเกณฑ์ (criterion test) เป็นการวัดความสําเร็จของผู้เรียนตามจุดประสงค์ปลายทาง(terminal objectives)
         การปฏิบัติตามเกณฑ์ (criterion practice) เกิดขึ้นในสถานการณ์เช่นเดียวกับการทดสอบปลายภาค (การทดสอบหนสุดท้าย) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินผู้เรียนว่ามีความพร้อมที่จะสอบปลายภาคหรือมีความจําเป็นต้องเรียนซ่อมเสริม
         การปฏิบัติในระหว่างเรียน (transitional practice) เป็นการออกแบบช่วยผู้เรียนให้สร้างสะพานข้ามช่องว่างระหว่างพฤติกรรมที่แสดงว่ามีความพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอนกับพฤติกรรมที่กําหนดโดยจุดประสงค์ปลายทาง สิ่งสําคัญที่ควรจดจําเกี่ยวกับการปฏิบัติในระหว่างเรียน คือ เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนเพื่อการแสดงออกซึ่งการปฏิบัติที่เป็นไปตามเกณฑ์
         การแนะนํา (guidance) เป็นการฝึกที่ฉับพลันที่ช่วยให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างถูกต้องในช่วงต้นของการปฏิบัติพบว่าจะมีการช่วยเหลือมากและจะค่อย ๆ ลดลง การช่วยเหลือจะอยู่ในช่วงปฏิบัติ ในระหว่างเรียนเท่านั้น ส่วนในช่วงของการปฏิบัติตามเกณฑ์ไม่ต้องช่วย
         การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการปฏิบัติ เพื่อที่จะบอกกลับผู้เรียนว่า ปฏิบัติถูกต้องหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง และจะปรับปรุงการปฏิบัตินั้นอย่างไร การปฏิบัติแต่ เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีข้อมูลป้อนกลับไม่เป็นการเพียงสําหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

2. ความต้องการทางทฤษฏีการเรียนการสอน
    ทฤษฎีการเรียนการสอน เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง การพัฒนาทฤษฎีการเรียนการสอนขาดความเอาใจใส่ ละเลย และเมื่อเปรียบเทียกับทฤษฎีการเรียนรู้แล้ว ทฤษฎีการสอนเกือบจะไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลงานการเขียนทางทฤษฎีของนักจิตวิทยา เห็นได้จากบทคัดย่อทางจิตวิทยาจะเต็มไปด้วยปฎิัติการทางการเรียนรู้ และการเรียนรู้ภายในโรงเรียนเป้นจำนวนมาก แะมีเพียงเล็กน้อยที่เกี่ยวกับการสอน และในส่วนที่มีนี้ยังรวมอยู่ภายในส่วนของ "บุคลากรทางการศึกษา" อีกด้วย หรือในการทำรายงานทางจิตวิทยาประจำปีโดยปกติจะมีบทที่ว่าด้วย การเรียนรู้นาน ๆ ครั้งจึงจะพเรื่องของการสอนเพียงเ็กน้อย หนังสือทั้งเล่ม หลายเล่มอุทิศห้กัลความรู้ มีหนังสือจำนวนน้อยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการสอนอย่างกว้างขวาง ตำราจิตวิทยาการศึกษาจะห้เนื้อที่กับการอภิปรายเกี่ยวกับการเรียนรู้และผู้เรียนมากกว่าวิธีการสอนและครู (Gage, 1964 : 269)
         
เหตุผลต่อการเพิกเฉยต่อทฤษฎีการสอนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ การตรวจสอบเหตุผลที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจจะช่วยในการตัดสินใจว่าเป็นไปได้หรือไม่ท่ทฤษฎีการสอนจะมีการก่อตัวขึ้นและเป็นไปตามต้องการ
         
ศิปะกับวิทยาศาสตร์ บางครั้งความพยายามที่พัฒนาทฤษฎีการสอนดูเหมือนว่าจะเป็นนัยของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้วย แต่ผู้เขียนบางคนปฏิเสธความคิดในเรื่องของวิทยาศาสตร์การสอน ไฮเจท (Highet) ได้เขียนหนังสือ "ศิลปะการสอน" และกล่าวว่า
         ...
เพราะผมเชื่อว่า การสอนเป็นศิลปะไม่ใช่วิทยาศาสตร์ มันดูเหมือนว่าเป็นเรื่องที่น่าอันตรายมากในการที่จะประยุกต์จุดหมายและวิธีการทางวิทยาศาสตร์กับแต่ละบุคคล แม้ว่าหลักการทางสถิติสามารถที่จะใช้การอธิบายพฤติกรรมในกลุ่มใหญ่และวินิจฉัยโครงสร้างทางกายภาพ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ก็ตาม โดยปกติแล้วมีคุณค่ามาก...แน่นอนที่สุด ที่เป็นความจำเป็นของครูบางคนที่จะเรียงลำดับในการวางแผนงานให้ถูกต้องแม่นยำ โดยอาศัยข้อความจริง แต่สิ่งนั้นไม่ได้ทำให้การสอนเป็น "วิทยาศาสตร์" การสอนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ซึ่งไม่สามารถจะประเมินได้อย่างเป็นระบบและใช้งานได้ เป็นค่านิยมของมนุษย์ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของวิทยาศาสตร์ การใช้วิทยาศาสาตร์การสอนหรือแม้แต่วิชาที่เป็นวิทยาศาสตร์จะไม่เป็นการเพียงพอเลย ตราบที่ทั้งครูและนักเรียนยังคงเป็นมนุษย์อยู่ การสอนไม่เหมือนกับการพิสูจน์ปฏิกิริยาเคมี การสอนมากไปกว่าการวาดภาพ หรือการทำชิ้นส่วนของเครื่องดนตรี หรือการปลูกพืช หรือการเขียนจดหมาย (Highet, 1955 requoted from Gage, 1964 : 270)
         
ไฮเจท ได้โต้แย้ง คัดค้าน ต่อต้านพัฒนาการของวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ โดยโต้แย้งว่าในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสอนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาวิทยาศาสตร์การสอนโดยเห็นว่าไม่สมควรจะให้ความเท่าเทียมกันในความพยายามเกี่ยวกับกิจกรรม กับความพยายามที่จะขจัดปรากฏการณ์เกี่ยวกับนิสัย และคุณลักษณะทางศิลปะ การวาดภาพ การเรียบเรียง และแม้แต่การเขียนจดหมาย และการสนทนา เป็นเรื่องที่สืบทอดกันมาและถูกกฎหมาย และสามารถเป็นเนื้อหาวิชาที่จะวิเคราะห์ทางทฤษฎีได้ จิตรกรแม้จะมีศิลปะอยู่ในงานที่ทำ บ่อยครั้งที่แสดงให้เห็นจากการแสดงออกของผู้เรียนว่าในงานศิลปะ ของนักเรียนจะมีเรื่องทฤษฎีของสี สัดส่วนที่เห็นความสมดุลหรือนามธรรมรวมอยู่ด้วย จิตรกรผู้เต็มไปด้วยความเป็นจิตรกรอย่างถูกต้องไม่ได้เป็นโดยอัตโนมัติ ยังคงต้องการขอบเขตที่กว้างขวางสำหรับความฉลาดและความเป็นส่วนบุคคลกระบวนการและผลผลิตของจิตรกรไม่จำเป็นต้อง ขึ้นอยู่กับผู้รู้หรือผู้คงแก่เรียน
         
การสอนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะต้องการความเป็นศิลปะแต่ก็สามารถที่จะได้รับการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ได้ด้วย พลังในการอธิบาย ทำนาย และควบคุม เป็นผลจากการพินิจวิเคราะห์ ไม่ใช่ผลจากเครื่องจักรการสอน เช่น วิศวกรสามารถที่จะคงความเชื่ออยู่ภายในทฤษฎีที่ว่าด้วยความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับความร้อน ครูจะมีห้องสำหรับความหลากหลายทางศิลปะในทฤษฎีที่ศึกษาวิทยาศาสตร์การสอนที่อาจจะจัดทำขึ้น และสำหรับงานของผู้ที่ฝึกหัด จ้าง และนิเทศครูทฤษฎีและความรู้ที่อาศัยการสังเกตการสอนจะเป็น การจัดเตรียมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
         
ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนทำอะไร แต่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต้องขึ้นอยู่กับว่าส่วนใหญ่แล้วครูทำอะไร นั้นคือ ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในธุรกิจการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ตอบสนองต่อพฤติกรรมของครูหรืออื่น ๆ ที่อยู่ในวงของการศึกษา ครูเท่านั้นที่จะเป็นผู้นำความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ และวิธีการต่าง ๆ ที่ครูจะทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดผลประกอบขึ้นเป็นส่วนของวิชาทฤษฎี การสอนในช่วงเวลาที่ยังไม่พัฒนาทฤษฎีการเรียนการสอน ดังนั้น ครูจะกระทำตามนัยเหล่านี้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนรู้ ทฤษฎีการสอนและการศึกษาเกี่ยวกับการสอนอาจจะสามารถทำให้เกิดการใช้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ดีกว่าได้
         
ทฤษฎีการสอนควรเกี่ยวข้องกับการอธิบาย การทำนาย และการควบคุมทิศทางครูที่ครูปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ภาพที่เป็นลักษณะนี้ทำให้มีพื้นที่ (Room) มากพอสำหรับทฤษฎีการสอนดังนั้นทฤษฎีการสอน ก็คงเกี่ยวข้องกับขอบเขตทั้งหมดของ ปรากฏการณ์ที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่หรือถูกละเลยจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วย
         
ความชัดเจนของทฤษฎีการเรียนการสอนควรจะเป็นประโยชน์กับการผลิตครู ในการผลิตครู บ่อยครั้งที่ดูเหมือนว่าจะมีการอ่านทฤษฎีการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติการสอน การที่เรารู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ไม่เป็นการเพียงพอที่จะบอกว่า เราควรจะทำอะไรเกี่ยวกับการสอน สิ่งที่ไม่เพียงพอเรานี้จะเห็นได้ชัดในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา จากตำรา จากคำถามของผู้เรียนว่า "ครูจะสอนอย่างไร" ในขณะที่คำตอบบางส่วนอาจได้มาจากการพิจารณาว่า ผู้เรียนเรียนรู้อย่างไร ซึ่งผู้เรียนไม่สามารถรับความรู้ทั้งหมดได้ด้วยวิธีการนี้อย่างเดียว ครูส่วนมากต้องรู้เกี่ยวกับการสอนว่าไม่ได้เป็นไปตามความรู้ในกระบวนการเรียนรู้โดยตรง ความรู้ของครูต้องการความชัดเจนมากไปกว่าการลงความคิดเห็น ชาวนาจำเป็นต้องรู้มากเกินไปกว่าที่จะรู้แต่เพียงว่า ข้าวโพดโตอย่างไร ครูเองก็จำเป็นต้องรู้มากไปกว่าที่จะรู้แต่เพียงว่า นักเรียนเรียนรู้อย่างไรเช่นกัน
         
ครูต้องรู้ว่าจะจัดการกับพฤติกรรมของตนเองซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ ในการอธิบายและการควบคุมการปฏิบัติการสอนต้องการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสอนที่ถูกต้องของตนเอง ผู้เรียนจิตวิทยาการศึกษาแสดงความข้องใจว่า ได้เรียนรู้มากเกี่ยวกับการเรียนรู้และผู้เรียน แต่ไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนและได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของการสอนแบบสืบสวน ซึ่งรวมอยู่ในทฤษฎีการเรียนการสอนด้วย
3. ธรรมชาติของทฤษฏีการเรียนการสอน
     ทฤษฎีการเรียนการสอน (theory of instruction) เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดของการประสบความสำเร็จในความรู้หรือทักษะ ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนรู้ให้ดีที่สุดได้อย่างไรด้วยการปรับปรุงแทนที่จะพรรณนาการเรียนรู้
         
ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการเรียนการสอน ตามความเป็นจริงแล้วทฤษฎีการเรียนการสอนต้องเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และพัฒนาการดีเท่า ๆ กับเนื้อหาวิชาและต้องมีความสมเหตุสมผลทำการทฤษฎีอื่น ๆ ที่มีอยู่หลากหลาย ทุกทฤษฎีจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญสี่ประการ คือ (Bruner, 1964:306-308)
         
ประการแรก ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่มเฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นการเรียนรู้ที่สุด หรือเป็นการเรียนรู้ชนิดพิเศษตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและต่อสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าโรงเรียน
         
ประการที่สอง ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องฉีดเฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้นั้น ความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังในการทำสารสนเทศให้มีความง่ายในการ ให้ข้อความใหม่ ที่ต้องพิสูจน์และเพื่อเพิ่มการถ่ายเทองค์ความรู้ มีอยู่เสมอที่โครงสร้างต้องสัมพันธ์กับสถานภาพและพรสวรรค์ของผู้เรียนด้วย
         
ประการที่สาม ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุด ในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น ผู้สอนคนหนึ่งปรารถนาที่จะสอนโครงสร้างทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่ เขาทำอย่างไร เขานำเสนอสาระที่เป็นรูปธรรมก่อนด้วยวิธีการใช้คำถามเพื่อสืบค้นความจริงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องนำไปคิดซึ่งทำให้ง่ายขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับการนำเสนอกฎนี้อีกครั้งในภายหลัง
         
ประการสุดท้าย ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและการลงโทษในกระบวนการเรียนรู้และการสอน ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้มีจุดที่ดีกว่าที่จะเปลี่ยนจากรางวัลภายนอก (extrinsic rewards) เช่น คำยกย่อยสรรเสริญจากครู ไปเป็นรางวัลภายใน (intrinsic rewards) โดยธรรมชาติในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับตนเอง ดังนั้น การให้รางวัลทันทีทันใด ควรแทนที่ด้วยรางวัลของการปฏิบัติตามหรืออนุโลมตาม (deferred rewards) อัตราการเคลื่อนย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงจากรางวัลภายนอกไปสู่รางวัลภายใน และจะได้รางวัลทyนใดไปสู่รางวัลการอนุโลมตาม เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าการเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับการบูรณาการของการกระทำที่มีขั้นตอนยาวหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงควรทำให้เร็วที่สุดจากการให้รางวัลทันทีทันใดเป็นการอนุโลมตาม และจากรางวัลภายนอกเป็นรางวัลภายใน
4. ทฤษฏีการเรียนการสอน
     การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบบการเรียนการสอนซึ่งได้มาจากผลการวิจัยเอกัต บุคคลเรียนรู้อย่างไรคำอธิบายว่าจะตีความให้ดีที่สุดได้อย่างไรกับความเห็นเหล่านี้ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้นจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมไปจนถึงทฤษฎีปัญญานิยมเป็นความหวังว่าทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจการเรียนรู้และประยุกต์วิธีการหรือหลักการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ กับผู้ออกแบบการเรียนการสอน
         
คำกล่าวทั่วไปของทฤษฎีเหล่านี้ พบได้จากทฤษฎีการเรียนรู้ของโบเวอร์และฮิลการ์ด (Bower and Hilgard,1981) ทฤษฎีการเรียนการสอนบาง ทฤษฎีพยายามที่จะโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์การเรียนการสอนเฉพาะอย่างไปสู่ผลที่ได้รับของการเรียนรู้ (Learning outcomes) โดยกำหนดเงื่อนไขการเรียนการสอนซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด ทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอนมีความคล้ายคลึงกันกับ ทฤษฎีการเรียนการสอนแต่เน้นไปที่กระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนที่กว้างกว่าทางทฤษฎีการเรียนการสอนและทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอนต่างก็จะพยายามที่จะโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์การเรียนการสอนเฉพาะอย่าง (specific instructional events) ไปสู่ผลที่ได้รับของการเรียนรู้ (learning outcomes) ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน ดังนั้น เนิร์คและกูสตัฟสัน (Knirk and Gustafson, 1986 : 102) จึงสรุปว่าทฤษฎีการเรียนการสอน (instructional theory) ได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนย่อยของทฤษฎี การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design theory) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของทฤษฎีระบบการเรียนการสอน (instructional system theory)
         
มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง สี่ทฤษฎีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันคือทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs) ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริล และไรเกลุท (Merrill and Reigeluth) ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส (Case) และทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา (landa)
         1.
ทฤษฎีการเรียนการสอน
              
กาเย่ (Gagne, 1985) มีส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังที่เาได้รวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้ กาเย่แะลบริกส์ (Gagne and Briggs, 1979) ได้ขยายเงื่อนไขนี้ออกไปโดพัฒนาชุดของหลักการสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน ทฤษฎีดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อปัจจัยการเรียนรู้เดิม เช่น การเสริมแรง การต่อเนื่อง และการปฏิบัติ เพราะกาเย่และริกส์คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเกินไปที่จะใช้การออกแบบการเรียนการสอนโดยยืนยันในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สารสนเทศทางถ้อยคำ ทักษะเชาว์ปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ประเภทอื่น ๆ กาเย่ได้ระบุผลที่รับจากการเรียนรู้แต่ละประเภทที่ต้องการ สภาวการณ์หรือเงื่อนไขที่แตกต่างกันสำหรับการเรียนรู้ การคงความจำ และการถ่ายโอนการเรียนรู้ในขีดสูงสุด
         2.
ทฤษฎีการเรียนการสอนองเมอร์ริลและไรเกลุท
             
การแจ้งรายละเอียดของทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท (merril, 1984 : reigeluth, 1979 : 8-15) เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหาภาพ สำหรับการจัดการเรียนการสอน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อขอองรายวิชา และลำดับขั้นตอนการเรียนการสอนทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์ หลักการ ระเบียบวิธีการ และการระลึก (จำได้) สารสนเทศข้อความจริงต่าง ๆ ได้โดยทั่วไปแล้ว ทฤษฎีนี้มีทัศนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนว่า เป็นกระบวนการของการนำเสนอรายะเอียดอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละเล็กทีละน้อย หรืออย่างประณีตตามทฤษฎีของเมอร์ริลและไรเกลุท
         3.
ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
             
เคส (Case, 1978 : 167-228) ได้แนะนำว่า ขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาว์ปัญญาขึ้นอยู่กับการปรากฏให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของกลยุทธ์ทางปัญญา การใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์ (รวมถึงการเรียนการสอน) และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
         4.
ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
             
ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา (Landa, 1974) เป็นการออกแบบจำลองการเรียนการสอนที่แยกออกมา โดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง (algorithms) โปรแกรมการฝึกอบรมจะมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีการที่มีอยู่ในคู่มือการฝึกอบรม ในการใช้วิธีการออกแบบของลันดา เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมา เพื่อจะได้รวมไว้ในการแก้ปัญหาบางอย่าง

5. หลักการเรียนรู้
      การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ ๆ เข้ากับการเรียนรู้เดิม
         
การนำเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนำสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์ หลักการ หรือวิธีการไปสู่นักเรียน ข้อกำหนดการนำเสนอจะมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน
         
การแนะนำบทเรียน
             
การแนะนำบทเรียน กิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการสอนการเรียนรู้ คือ ทำให้ผู้ตั้งใจเรียนและเตรียมผู้เรียนไปสู่การฝึกปฏิบัติ ในการแนะนำบทเรียนควรอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนการสอน พรรณนาประโยชน์ของการบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์สำหรับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม
         
การนำเสนอเนื้อหาใหม่
              
การนำเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่ บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริง มโนทัศน์ และกฎหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ ๆ ให้จดจำได้ง่ายควรนำเสนออย่างมีลำดับ มีแบบของโครงสร้างจะทำให้มีความหมายต่อผู้เรียนมาก การขจัดสารสนเทศแทรกซ้อนไม่เป็นที่ต้องการและขจัดเนื้อหาที่สับสนและไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อผลดีของผู้เรียน
         
การฝึกปฏิบัติ
              
การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้เป็นกระบวนการองการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้มีการผลิต มีการปฏิบัติ หรือมีการพยายามใช้มือกับภาระการงานที่ได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นาน และให้ความสะดวกในการระลึกได้


6. การวิจัยการเรียนรู้
     การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ กรณีที่หลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึก ๆ เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่าประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบ นักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้ คือ การทดลอง ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
7. ความเข้าใจของผู้เรียนและการเรียนรู้
     การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวร เนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับ 3 ประการคือ ประการแรกความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับของแรงจูงใจ และประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงานการเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ คือ
              1.
แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
              2.
เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
              3.
ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญญา
              4.
ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
              5.
การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
9. การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
             การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรอบด้านสมดุล
10. รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
      ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายกว่าคือ
         รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทางปัญญาการเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์ วิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น เกมการศึกษา สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสำเร็จรูป ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์

ที่มา : พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3 นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2560.